เงินเฟ้อยูโรโซนลดลงแต่ยังไม่ถึงจุดที่ตั้งเป้าไว้
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนที่ได้ประกาศในวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา เลขที่ได้ประกาศออกมานั้นตรงกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.1% แม้ว่า CPI จะมีการปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังถือว่าห่างไกลกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 2% ดังนั้นจึงคาดได้ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังมีความจำเป็นทีจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนข้างหน้าอย่างแน่นอน
นายคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวย้ำว่า ECB จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนหน้า ก่อนที่จะมีการตัดสินใจเพิ่มเติมบนพื้นฐานข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมีการประกาศออกมาอีกครั้งในปลายเดือนนี้
นายปีเตอร์ คาซิมีร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสโลวาเกีย และสมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB ควรจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนหน้า เนื่องจากความเสี่ยงเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น "เราต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนหน้า และดำเนินการต่อไปสู่เชิงจำกัด การดำเนินการคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไปเป็นวิธีการที่เหมาะสมเดียวในอนาคต"
การคาดการณ์ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของเยอรมนี (DE10YT) ซึ่งเป็นมาตรฐานของกลุ่มเพิ่มขึ้น 0.5 จุดพื้นฐาน (bps) ที่ 2.47% และมีธนาคารเพื่อการลงทุนรายใหญ่ระดับโลกปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสุดท้ายสำหรับ ECB เป็น 4% ในเดือนกันยายน
ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลี ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับพื้นที่รอบนอกของเขตยูโร เพิ่มขึ้น 1.5 bps เป็น 4.05% ทำให้มีนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า จะมีกองทุนรวมหลายกองทุนกลับเข้าไปซื้อสินทรัพย์ตราสารหนี้อีกครั้งเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเดิม โดยที่ตราสารหนี้ของประเทศอิตาลีเป็นให้ผลตอบแทนที่น่าดึงดูด
ทั้งนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปอาจไม่ได้แก้ปัญหาเงินเฟ้อได้อย่างตรงจุด โดยมีการคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะสูงเกินเป้าหมาย 2% ของ ECB ไปจนถึงปี 2025 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานในช่วงก่อนหน้าได้ส่งผลกระทบไปทั่วเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว จึงส่งผลให้ราคาสินค้าทุกอย่างเพิ่มขึ้น และดันค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก
คริสตาลีนา จอร์เจวา กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้มีการพูดโต้แย้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ECB ควรให้ความสำคัญกับการลดอัตราเงินเฟ้อต่อไป แต่ต้องมีการปรับเพิ่มนโยบายการเงินอย่างรอบคอบเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงเกินกว่าจะควบคุมได้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9163, 0.9171, 0.9177
แนวรับสำคัญ: 0.9149, 0.9143, 0.9135
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9135 | 0.9143 | 0.9149 | 0.9157 | 0.9163 | 0.9171 | 0.9177 |
Fibonacci | 0.9143 | 0.9148 | 0.9152 | 0.9157 | 0.9162 | 0.9166 | 0.9171 |
Camarilla | 0.9152 | 0.9153 | 0.9154 | 0.9157 | 0.9157 | 0.9158 | 0.9160 |
Woodie's | 0.9135 | 0.9143 | 0.9149 | 0.9157 | 0.9163 | 0.9171 | 0.9177 |
DeMark's | - | - | 0.9153 | 0.9159 | 0.9168 | - | - |
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 35.459 | ขาย |
STOCH(9,6) | 70.434 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 81.758 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.003 | ขาย |
ADX(14) | 35.345 | ขาย |
Williams %R | -60.791 | ขาย |
CCI(14) | 30.4240 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0022 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 54.269 | ซื้อ |
ROC | -0.601 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0009 | ขาย |
ซื้อ:2 ขาย:6 ถือหุ้นไว้:2 สรุป:ขายทันที |