เยนอ่อนค่า จับตาดู BOJ อาจเข้าแทรกแซงอีกครั้ง
อัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภคในโตเกียวขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมิถุนายนเล็กน้อย หลังจากที่ราคาอาหารและเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง แต่ในทางตรงกันข้าม ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในโตเกียวซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดที่ผันผวน เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ BOJ เป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน ซึ่งเผยให้เห็นถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ในวงกว้าง
นอกจากนี้ ราคานำเข้าที่สูงซึ่งได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากเงินเยนที่อ่อนค่า มีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อในปีที่ผ่านมา แม้ว่าการอุดหนุนค่าไฟฟ้าของรัฐบาลจะช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อโดยรวม แต่ก็สามารถช่วยได้เพียงส่วนหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงอาจทำให้ BOJ เริ่มใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดแทนการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในปัจจุบัน และยุติโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปีนี้ แม้ว่าล่าสุด BOJ ยังคงยืนกรานที่จะคงมาตรการดังกล่าวไว้ในระยะเวลาอันใกล้ก็ตาม
ทั้งนี้ อัตราว่างงานในญี่ปุ่นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 2.6% ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และจากข้อมูลเพิ่มเติมระบุว่า ผลผลิตของภาคการผลิตในญี่ปุ่นลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเน้นย้ำถึงความเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออก เนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในเชิงรุก และการเติบโตของจีนที่ซบเซา ซึ่งบดบังแนวโน้มอุปสงค์ทั่วโลก
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่น รวมถึงรัฐมนตรีคลัง ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง และระบุว่าอาจมีการดำเนินมาตรการที่เหมาะสม หากพบการเคลื่อนไหวของสกุลเงินที่มากเกินไป ในขณะที่ทางการญี่ปุ่นเผชิญกับแรงกดดันในการตอบโต้การลดลงอย่างต่อเนื่องของเงินเยน ซึ่งได้แรงกดดันจากความคาดหวังของตลาดที่ว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นพิเศษ ในขณะที่ธนาคารกลางอื่น ๆ ได้ใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยค่าเงินที่อ่อนค่าลงได้สร้างความท้าทายให้กับญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างมาก เนื่องจากส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น และอาจส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตและกำลังซื้อของประชาชน
ในทางตรงกันข้าม ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่น แตะระดับสูงสุด 7 เดือนกว่า ติดต่อกันเป็นวันที่ 3 โดยได้รับอิทธิพลจากแผนนโยบายที่สวนทางกันของธนาคารกลางสหรัฐฯ และญี่ปุ่น และความคาดหวังว่าธนาคารกลางทั้งสองจะยังคงใช้เส้นทางการเงินที่ตรงกันข้ามกันต่อไป ในขณะที่นักลงทุนกำลังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงค่าเงินอีกหรือไม่
ในขณะเดียวกัน ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ตามข้อมูลเศรษฐกิจเชิงบวกที่บ่งชี้ถึงภาคตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์พลิกกลับมาลดลงอย่างมาก และนับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 20 เดือน อีกทั้ง กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยังได้ปรับประมาณการการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกเป็น 2% เพิ่มขึ้นจากที่เคยรายงานไว้ที่ 1.3% ในเดือนพฤษภาคม และสูงกว่าประมาณการครั้งก่อนที่ 1.4%
ทั้งนี้ นายเจอโรม เพาเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวในงานที่จัดขึ้นโดยธนาคารกลางสเปน โดยแนะนำว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากหยุดชั่วคราวเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม พาวเวลล์ยังกล่าวในที่ประชุมโดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ 2% ของเฟดไปจนถึงปี 2568 เป็นอย่างน้อย ในขณะที่ความคาดหวังของตลาดสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 จุดโดยเฟดในการประชุมเดือนกรกฎาคมที่จะถึง ได้เพิ่มขึ้นเป็น 86.8% จาก 81.8% ในช่วงก่อนหน้า โดยความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ถูกตัดออกไปโดยสิ้นเชิง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 144.86, 144.90, 144.96
แนวรับสำคัญ : 144.74, 144.70, 144.64
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 144.64 – 144.74 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 144.74 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.86 และ SL ที่ประมาณ 144.56 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 144.86 – 144.96 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.00 และ SL ที่ประมาณ 144.69 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 144.86 – 144.96 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 144.86 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.70 และ SL ที่ประมาณ 145.04 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 144.64 – 144.74 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.53 และ SL ที่ประมาณ 144.91 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 30, 2023 09:25AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 144.53 | 144.64 | 144.70 | 144.80 | 144.86 | 144.96 | 145.02 |
Fibonacci | 144.64 | 144.70 | 144.74 | 144.80 | 144.86 | 144.90 | 144.96 |
Camarilla | 144.71 | 144.72 | 144.74 | 144.80 | 144.77 | 144.79 | 144.80 |
Woodie's | 144.51 | 144.63 | 144.68 | 144.79 | 144.84 | 144.95 | 145.00 |
DeMark's | - | - | 144.67 | 144.78 | 144.83 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2