บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย วันที่ 4 กรกฎาคม 2566

บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย วันที่ 4 กรกฎาคม 2566
Create at 1 year ago (Jul 04, 2023 10:00)

หุ้นเอเชียพุ่ง นิกเคอิแตะระดับสูงสุดในรอบ 33 ปี ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ

ในวันจันทร์ หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น จากการลดลงของอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ สร้างความหวังว่านโยบายการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐจะมีท่าทีที่ผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลเชิงบวกที่บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ผลักดันดัชนี Nikkei สู่ระดับสูงสุดในรอบ 33 ปี อย่างไรก็ตามภายหลังตลาดได้มีการปรับฐาน ส่งผลให้ดัชนี Nikkei ร่วงลงจากระดับสูงสุดก่อนหน้านี้

การปรับตัวขึ้นในตลาดเอเชียเกิดจากอัตราเงินเฟ้อลดลงมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงพุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนของแนวโน้มขาขึ้นครั้งนี้ยังคงไม่แน่นอน โดยขึ้นอยู่กับการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจและสัญญาณของธนาคารกลางทั่วโลกตลอดทั้งสัปดาห์

ในขณะที่กิจกรรมโรงงานภาคการผลิตขยายตัวเล็กน้อยในจีน แต่กลับพบการหดตัวในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ส่งสัญญาณถึงความท้าทายในการรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย โดยบริษัทผู้ผลิตในเอเชียยังคงเตรียมรับมือกับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงของสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Shenzhen CSI 300 และ Shanghai Composite ของจีนได้ปรับเพิ่มขึ้นราว 1.2% หลังผลสำรวจที่เปิดเผยถึงภาคการผลิตของจีนที่เติบโตดีเกินคาดในเดือนมิถุนายน ในขณะที่ ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงเพิ่มขึ้น 1.9% โดยได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศ ในขณะเดียวกัน ยอดค้าปลีกของฮ่องกงในเดือนพฤษภาคมพบการเติบโต 18.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นการเติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่หก โดยการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวขาเข้าและความเชื่อมั่นในเชิงบวกคาดว่าจะสนับสนุนการเติบโตต่อไปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม การดัชนีทางเศรษฐกิจบางส่วนในจีนชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งบ่งชี้ถึงความอ่อนแอที่อาจเกิดขึ้นในเศรษฐกิจจีน โดยจากผลสำรวจอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นว่า ภาคโรงงานของจีนหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนมิถุนายน ความเชื่อมั่นลดลงและการสรรหาบุคลากรลดลง เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ เริ่มกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสภาวะตลาดที่ซบเซา ส่งผลให้ขณะนี้ ตลาดคาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายที่มากขึ้น เพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าธนาคารกลางจีนจะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วก็ตาม

ผลกระทบของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนก็ได้ส่งผลต่อญี่ปุ่น โดยกิจกรรมภาคการผลิตของญี่ปุ่นหดตัวในเดือนมิถุนายน จากคำสั่งซื้อสินค้าวัฏจักรที่อ่อนแอท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการกลับมาหดตัวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากพบการขยายตัวในเดือนพฤษภาคมเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ซึ่งคำสั่งซื้อใหม่จากลูกค้าต่างประเทศที่ลดลงเร็วที่สุดในรอบสี่เดือน ได้สะท้อนถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอจากจีน

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด จากผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นพบว่า ความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจในประเทศดีขึ้นตลอดไตรมาสที่สอง ซึ่งบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว เนื่องจากบริษัทจำนวนมากได้วางแผนเพิ่มการลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดคาดหวังว่าแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะดีขึ้นในปีนี้ และส่งผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

ทางด้านเกาหลีใต้ อัตราเงินเฟ้อพบการชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง ในขณะเดียวกัน กิจกรรมภาคการผลิตของประเทศหดตัวสูงในเดือนมิถุนายน และชะลอตัวเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของการส่งออกในเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นในเดือนมิถุนายน โดยพบการส่งออกรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น และความต้องการของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ในบรรดาตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการผลิตของอินเดียนั้นกลับโดดเด่นด้วยการขยายตัวอย่างรวดเร็วในเดือนมิถุนายน โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งถึงแม้ว่าจะต่ำกว่าตัวเลขในเดือนพฤษภาคมเล็กน้อย แต่ก็นับเป็นการขยายตัวที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสองในปีนี้ แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้นก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มของดัชนี Nikkei นั้นคาดว่าจะปรับตัวขึ้นลงในกรอบ ไปจนถึงอยู่ในแนวโน้มขาลง ซึ่งถึงแม้ว่าความเชื่อมั่นในเชิงบวกและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจะช่วยสนับสนุนได้บ้าง แต่ความท้าทายในการประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย อุปสงค์ที่อ่อนแอจากจีน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ โดยตลาดคาดว่าจะได้รับอิทธิพลจากข้อมูลเศรษฐกิจที่เผยแพร่ และนโยบายของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

CFD JP225 Nikkei 225 Futures - Sep 23

แนวต้านสำคัญ : 33536.5, 33604.4, 33714.2

แนวรับสำคัญ : 33316.9, 33249.0, 33139.2                        

5H Outlook

วิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย ที่มา: Investing.com     

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 33216.9 - 33316.9 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 33316.9 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33536.5 และ SL ที่ประมาณ 33186.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 33536.5 - 33636.5 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33720.0 และ SL ที่ประมาณ 33287.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 33536.5 - 33636.5 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 33536.5 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33248.4     และ SL ที่ประมาณ 33667.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 33216.9 - 33316.9 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33125.0 และ SL ที่ประมาณ 33507.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jul 04, 2023 09:38AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 32960.9 33139.2 33248.4 33426.7 33535.9 33714.2 33823.4
Fibonacci 33139.2 33249.0 33316.9 33426.7 33536.5 33604.4 33714.2
Camarilla 33278.4 33304.8 33331.1 33426.7 33383.9 33410.2 33436.6
Woodie's 32926.3 33121.9 33213.8 33409.4 33501.3 33696.9 33788.8
DeMark's - - 33193.8 33399.4 33481.2 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES