ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงแย่อยู่
เงินยูโรยังคงทรงตัวอยู่แม้ว่าทางสหรัฐ จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกก็ตาม โดยตัวเลขเศรษฐกิจของฝั่งยูโรโซนก็ดีขึ้นเล็กน้อยและคาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกเพื่อหยุดเงินเฟ้อไห้ไปอยู่ที่เป้าหมายที่ 2%
มีการคาดการณ์ตัวเลข CPI นี้ว่าจะลดลงเหลือ 5.6% ในเดือนมิถุนายนจาก 6.1% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งตัวเลข CPI ที่ออกมานั้นอยู่ที่ 5.5% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ด้วย ถือเป็นการลดลงเป็น 3 เดือนติดต่อกัน โดยการลดลงนี้น่าจะมาจากต้นทุนเชื้อเพลิงลดลงและการชะลอตัวลงจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร แต่ถึงอย่างนั้นเยอรมนีเป็นประเทศเดียวที่รายงานว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ที่ไม่รวมหมวดพลังงานและอาหารลดลงมาที่ 6.8% ในเดือนมิถุนายน จาก 6.9% ในเดือนพฤษภาคม แต่ในภาคบริการเป็นกลุ่มเดียวที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.4% จาก 5.0% ซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของผู้บริโภคที่ปรับตัวรับต่อต้นทุนการกู้ที่สูงขึ้นจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลที่ได้ประกาศไปนี้จะไม่เปลี่ยนใจธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้อย่างแน่นอน ซึ่ง ECB ระบุแล้วว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 ในเดือนกรกฎาคม และกำลังพิจารณาการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายนด้วย โดยมี คริสตีน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป ได้มีการย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นติดกันเป็นครั้งที่ 9 ในเดือนกรกฎาคมนี้อย่างแน่นอน
ทางด้าน เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด เองก็ค่อนข้างชัดเจน ว่าธนาคารกลางสหรัฐ มีแนวโน้มที่จะกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหลังจากหยุดการเพิ่มดอกเบี้ยชั่วคราวในเดือนมิถุนายน ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตมากกว่าที่คิดไว้ในตอนแรกในไตรมาสแรกและจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง ซึ่งบ่งบอกได้ว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอยู่
จากการที่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เอสแอนด์พี มีความคิดเห็นว่าบริษัทที่ออกหุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และแนวโน้มการเช่าพื้นที่สำนักงานลดลงหลังโรคระบาดรวมไปถึงการทำงานจากบ้านมากขึ้น
ความกังวลที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเงินเฟ้อแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องตามติดตัวเลข PMI ด้วยเช่นกัน โดยตัวเลข PMI ของยูโรโซนที่ได้ประกาศในวันที่ผ่านมา ได้มีการปรับตัวลงต่อเนื่อง โดย PMI ภาคการผลิตได้มีการปรับตัวลดลงถึง 11 เดือนติดต่อกัน ซึ่งคาดว่าจะมาจากการการเติบโตของจำนวนแรงงานเติบโตค่อนข้างช้าจึงทำให้ภาคการผลิตยังคงไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังส่งผลถึงตัวเลขความเชื่อมั่นทางธุรกิจในยูโรโซนด้วย โดยความเชื่อมั่นลดลงมาถึง 0.06 ในเดือนมิถุนายน จาก 0.19 เดือนพฤษภาคม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9174, 0.9186, 0.9192
แนวรับสำคัญ: 0.9156, 0.9150, 0.9138
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9138 | 0.9150 | 0.9156 | 0.9168 | 0.9174 | 0.9186 | 0.9192 |
Fibonacci | 0.9150 | 0.9157 | 0.9161 | 0.9168 | 0.9175 | 0.9179 | 0.9186 |
Camarilla | 0.9158 | 0.9160 | 0.9161 | 0.9168 | 0.9165 | 0.9166 | 0.9168 |
Woodie's | 0.9136 | 0.9149 | 0.9154 | 0.9167 | 0.9172 | 0.9185 | 0.9190 |
DeMark's | - | - | 0.9154 | 0.9167 | 0.9172 | - | - |
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 53.687 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 31.708 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 43.051 | ขาย |
MACD(12,26) | 0.000 | ซื้อ |
ADX(14) | 19.298 | ถือหุ้นไว้ |
Williams %R | -60.732 | ขาย |
CCI(14) | -17.8591 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0021 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 46.828 | ขาย |
ROC | -0.207 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | 0.0003 | ซื้อ |
ซื้อ:2 ขาย:5 ถือหุ้นไว้:4 สรุป:ขาย |