RBA คงอัตราดอกเบี้ย จับตาการปรับขึ้นอีกในอนาคตท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อ
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมในระหว่างการประชุมกำหนดนโยบายครั้งล่าสุด การตัดสินใจดังกล่าวเกิดจากความจำเป็นในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งก่อน อย่างไรก็ตาม RBA ระบุว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคต เนื่องจากระดับเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายออสเตรเลียถูกคงไว้ที่ 4.10% ซึ่งตรงกันข้ามกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 25 จุด หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่คาดคิดในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเล็กน้อยจากจุดสูงสุดในเดือนพฤษภาคม โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงสูง ซึ่งบ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านราคาในประเทศอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลง 0.4% เมื่อวานนี้ แต่หลังจากนั้นก็ได้พลิกฟื้นตัวกลับมา โดยคาดว่าอาจเกิดจากความคาดหวังของนักลงทุนถึงความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีนี้ ส่งผลให้การคาดการณ์ของตลาดเปลี่ยนไป โดยตลาดคาดว่ามีโอกาส 50-50 ที่ RBA จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็น 4.35% ในเดือนสิงหาคม
อย่างไรก็ดี ผู้ว่าการธนาคาร Philip Lowe เน้นย้ำว่าการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อของ RBA ยังคงเป็นงานที่ท้าทาย ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่สูง ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนของออสเตรเลียที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูง แต่ตลาดงานก็ยังคงมีความยืดหยุ่นอยู่มาก โดยอัตราการว่างงานล่าสุดได้ร่วงกลับสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปีในเดือนพฤษภาคม
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคมขยายตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในออสเตรเลียก็ยังคงแข็งแกร่งและมีแนวโน้มที่จะกดดันผู้ค้าปลีกต่อไปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทั้งนี้ แม้อัตราดอกเบี้ยและค่าครองชีพจะสูงขึ้น แต่ยอดค้าปลีกของออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคมกลับดีเกินความคาดหมาย โดยแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งการเติบโตส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากการขายปลีกอาหาร ที่มากจากความต้องการบริโภคอาหารนอกบ้านและอาหารซื้อกลับบ้าน ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำนักงานสถิติออสเตรเลียระบุว่า ต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการขาดแคลนด้านอุปทานในปีที่ผ่านมา ก็ได้มีส่วนในการผลักดันยอดค้าปลีกนี้
ทางด้านราคาบ้านในออสเตรเลียยังคงเผชิญกับแนวโน้มที่สูงขึ้นในเดือนมิถุนายน โดยเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน ส่งผลให้มูลค่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ โดยเป็นผลมาจากการขาดแคลนอุปทานที่อยู่อาศัย
ในขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทรงตัววานนี้ในช่วงวันหยุด โดยข้อมูลการจ้างงานที่จะเผยแพร่มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้เล็กน้อยเนื่องจากผลตอบแทนระหว่างคู่สกุลเงินที่ยังคงต่างกันมาก โดยคาดว่าแนวโน้มขาลงของเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอาจถูกจำกัดได้อยู่บ้าง เนื่องจากความคาดหวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจาก RBA
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6697, 0.6699, 0.6703
แนวรับสำคัญ : 0.6689, 0.6687, 0.6683
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6679 - 0.6689 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6689 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6697 และ SL ที่ประมาณ 0.6674 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6697 - 0.6707 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6718 และ SL ที่ประมาณ 0.6684 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6697 - 0.6707 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6697 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6687 และ SL ที่ประมาณ 0.6712 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6679 - 0.6689 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6670 และ SL ที่ประมาณ 0.6702 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 05, 2023 09:30AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6677 | 0.6683 | 0.6687 | 0.6693 | 0.6697 | 0.6703 | 0.6707 |
Fibonacci | 0.6683 | 0.6687 | 0.6689 | 0.6693 | 0.6697 | 0.6699 | 0.6703 |
Camarilla | 0.6688 | 0.6689 | 0.6690 | 0.6693 | 0.6691 | 0.6692 | 0.6693 |
Woodie's | 0.6675 | 0.6682 | 0.6685 | 0.6692 | 0.6695 | 0.6702 | 0.6705 |
DeMark's | - | - | 0.6685 | 0.6692 | 0.6695 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2