ญี่ปุ่นต้องยังจับตาดูเงินเฟ้อต่อไป
เงินเยนยังอ่อนค่าต่อเนื่องจากการใช้นโยบายด้านการเงินที่ตรงข้ามกับหลายประเทศทั่วโลก ญี่ปุ่นถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ต้องการให้เกิดเงินเฟ้อหลังจากมีเงินฝืดมานานหลายปี ทั้งนี้ เงินเฟ้อที่ได้ประกาศในหลายเดือนที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังคงต้องจับตาดูอยู่เนื่อง เนื่องจากเงินเฟ้อยังไม่อยู่ในกรอบเป้าหมาย แต่ทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นเองก็มีแนวโน้มที่จะปรับนโยบายเล็กน้อยในเดือนหน้า
กระทรวงแรงงานญี่ปุ่นได้เปิดเผยว่า เงินเดือนพื้นฐานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 28 ปีในเดือนพฤษภาคม ทำให้เกิดการพูดคุยกันว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะยกเลิกการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษเมื่อใด แม้เงินเฟ้ออ่อนๆ จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี แต่ถ้าหากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับมาตราการจะเร่งให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมาอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ พบว่าค่าจ้างภายในประเทศเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบรายปีในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ในปี 1995 และการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนพื้นฐานส่งผลให้รายได้เงินสดทั้งหมดของคนงาน หรือค่าจ้างตามตัวเลข เพิ่มขึ้น 2.5% ในเดือนพฤษภาคม หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนเม.ย.
ถึงแม้ว่าจะมีการปรับขึ้นทั้งค่าจ้างละเงินเดือนพื้นฐาน แต่ค่าจ้างที่แท้จริงกลับหดตัวลดลงถึง 1.2% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการหดตัวลงเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายเดือน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายเดือนที่ผ่านมาได้หักล้างกับการปรับขึ้นค่าจ้างตามตัวเลขและกำลังซื้อที่ลดลงของภาคครัวเรือน ทำให้มีการคาดว่าค่าจ้างที่แท้จริงจะยังคงหดตัวลงตลอดทั้งปีนี้
นายเซอิซากุ คาเมดะ อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า “BOJ อาจจะปรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อประจำปีนี้ให้สูงขึ้นจากเดิม แต่ BOJ มีแนวโน้มที่จะไม่ปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 27-28 กรกฎาคมอย่างแน่นอน”
ในปัจจุบัน BOJ ยังคงดำเนินนโยบาย YCC เอาไว้ ซึ่งเป็นนโยบายที่ตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และตรึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) อายุ 10 ปีไว้ที่ระดับราว 0% ทั้งนี้ นายคาเมดะกล่าวว่า ถึงแม้ BOJ ไม่มีแนวโน้มที่จะปรับนโยบาย YCC ในเดือนกรกฎาคมนี้ แต่ BOJ ก็อาจจะมีการปรับรายละเอียดใน YCC ในช่วงเดือนต่อไปในปีนี้ ถ้าหาก BOJ ยังเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอยู่และได้รับแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ ในขณะที่มีการปรับขึ้นค่าแรง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 143.10, 143.39, 143.88
แนวรับสำคัญ: 142.32, 141.83, 141.55
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 141.55 | 141.83 | 142.32 | 142.61 | 143.10 | 143.39 | 143.88 |
Fibonacci | 141.83 | 142.13 | 142.31 | 142.61 | 142.91 | 143.09 | 143.39 |
Camarilla | 142.60 | 142.67 | 142.74 | 142.61 | 142.89 | 142.96 | 143.03 |
Woodie's | 141.65 | 141.88 | 142.42 | 142.66 | 143.20 | 143.44 | 143.98 |
DeMark's | - | - | 142.47 | 142.68 | 143.25 | - | - |
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 32.478 | ขาย |
STOCH(9,6) | 8.440 | ขายมากเกินไป |
STOCHRSI(14) | 32.298 | ขาย |
MACD(12,26) | -0.520 | ขาย |
ADX(14) | 36.613 | ซื้อ |
Williams %R | -91.620 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -75.0512 | ขาย |
ATR(14) | 0.5564 | ผันผวนสูง |
Highs/Lows(14) | -0.7861 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 31.522 | ขาย |
ROC | -1.591 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.7410 | ขาย |
ซื้อ:1 ขาย:8 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ขายทันที |