เงินเยนฟื้นตัว คงแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อภาคธุรกิจค้าส่งของญี่ปุ่นยังคงชะลอตัวในเดือนมิถุนายน ลดลงเป็นเดือนที่หกติดต่อกัน ซึ่งคาดว่าอาจเป็นผลมาจากราคาเชื้อเพลิงและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง บ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านต้นทุนที่ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ก่อนหน้านี้ผลักดันทำให้ราคาผู้บริโภคสูงขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับมุมมองของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคจะชะลอตัวลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่ลดลงจากระดับสูงสุดของปีที่แล้ว
ทางด้านราคานำเข้าลดลงมากที่สุดประจำปีนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 โดยลดลง 11.3% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่งผลดีต่อผู้ค้าปลีกหลายรายที่มีการพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าอย่างมาก
โดยในเดือนพฤษภาคม บัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นเกินดุลมากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบเป็นรายปี เกินดุลเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน ซึ่งการเกินดุลดังกล่าว อาจเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าที่ลดลงและรายได้จากการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงการจ่ายเงินปันผลจากบริษัทในเครือธุรกิจและการจ่ายดอกเบี้ยจากการลงทุนในหลักทรัพย์ และแม้ว่าเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นจะพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบอย่างหนัก รวมถึงการพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก แต่รายได้หลักที่ได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศได้กลายเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างรายได้ของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ BOJ ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษานโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเปลี่ยนจากการถูกขับเคลื่อนด้วยต้นทุน ไปสู่การถูกขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่งพร้อมกับค่าจ้างที่สูงขึ้น โดย BOJ พบว่าแนวโน้มการปรับขึ้นค่าจ้างได้ขยายวงกว้างไปในหลายภูมิภาคของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้บริษัทบางแห่งกำลังพิจารณาขึ้นราคาขายเพื่อชดเชยต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ดี แม้ว่า BOJ จะมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตของค่าจ้างและการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืนมากขึ้น แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างของบริษัทต่างๆ ในปีต่อไปยังสร้างความกังวล รวมถึงผู้จัดการสาขาของ BOJ ที่กำกับดูแลเมืองใหญ่ ต่างเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับผลกระทบของการชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลกต่อรายได้ของบริษัท
ในขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบกับดัชนีสกุลเงินหลัก เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเข้าใกล้การสิ้นสุดวงจรการคุมเข้มทางโนยบายการเงิน ในขณะที่ตลาดรอข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ล่าสุดอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งคาดว่าราคาผู้บริโภคหลักจะเพิ่มขึ้น 5% ต่อปีในเดือนมิถุนายน โดยตัวเลขดังกล่าวคาดว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มค่าเงินเยนในช่วงนี้อาจพบการดีดตัวกลับและอ่อนค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อยู่บ้าง หลังจากที่เงินเยนได้แข็งค่าขึ้นเกือบ 1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ วานนี้ โดยเงินเยนอาจได้รับแรงสนับสนุนและแรงกดดันจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นที่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ในการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนของ BOJ ในอนาคต และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลง ในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และข้อมูลเงินเฟ้อ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 140.41, 140.52, 140.68
แนวรับสำคัญ : 140.07, 139.96, 139.80
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 139.80 – 140.07 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 140.07 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 140.41 และ SL ที่ประมาณ 139.60 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 140.41 – 140.71 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 140.80 และ SL ที่ประมาณ 139.90 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 140.41 – 140.71 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 140.41 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.97 และ SL ที่ประมาณ 140.90 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 139.80 – 140.07 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.60 และ SL ที่ประมาณ 140.60 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 12, 2023 09:22AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 139.52 | 139.80 | 139.97 | 140.24 | 140.41 | 140.68 | 140.85 |
Fibonacci | 139.80 | 139.96 | 140.07 | 140.24 | 140.41 | 140.52 | 140.68 |
Camarilla | 140.00 | 140.04 | 140.08 | 140.24 | 140.17 | 140.21 | 140.25 |
Woodie's | 139.46 | 139.77 | 139.91 | 140.21 | 140.35 | 140.65 | 140.79 |
DeMark's | - | - | 139.88 | 140.19 | 140.32 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2