นโยบายการเงินของญี่ปุ่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้
เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แต่หลังจากมีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ เงินเยนก็เริ่มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยโดยในตอนนี้อยู่ที่ 138 USD/JPY แต่การที่เงินเยนที่อ่อนค่าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถหนุนผลกำไรของผู้ส่งออกญี่ปุ่นได้ แต่จะเพิ่มราคาพลังงานและการนำเข้าอื่นๆ แต่เมื่อมาดูตัวเลขการส่งออกพบว่ามีการหดตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ดังนั้นการที่เงินเยนแข็งค่าอาจเป็นเรื่องที่ดีสำหรับญี่ปุ่นในตอนนี้
คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า มีมุมมองที่ว่า "มีความไม่แน่นอนอย่างมากในเศรษฐกิจโลกที่มาจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะสงผลต่อการคงนโยบายการเงินในปัจจุบัน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางก็ตาม” โดยนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษของ BOJ เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่า เนื่องจากตรงกันข้ามกับการเข้มงวดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศ อื่นๆ อีกหลายประเทศ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะปรับลดนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในปลายเดือนนี้
โดยที่อัตราผลตอบแทน JGB 10 ปี (JP10YTN=JBTC) แตะที่ 0.485% ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม โดยที่มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 0.475% แต่ยังคงถือว่าเพิ่มขึ้น 1 bp จากช่วงก่อนหน้า อัตราผลตอบแทน JGB อายุ 20 ปี (JP20YTN=JBTC) เพิ่มขึ้น 3 bps เป็น 1.120% และอัตราผลตอบแทน JGB อายุ 30 ปี (JP30YTN=JBTC) เพิ่มขึ้น 4 bps เป็น 1.390% นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ด้วย
ชินจิ เอบิฮาระ นักยุทธศาสตร์ด้านอัตราดอกเบี้ยของ Barclays Securities Japan กล่าวว่า "ตลาดได้รับความคาดหวังล่วงหน้าสำหรับการแก้ไขนโยบายของ BOJ โดยที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่วันศุกร์ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของฐานเงินเดือนของญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2538”
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 27-28 ก.ค. ในขณะที่นักลงทุนได้มีการจับตา BOJ ว่าจะมีการปรับลดการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษหรือไม่ ทั้งนี้ นายเรียวตะ อาเบะ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัท SMBC กล่าวว่า "นักลงทุนจำนวนมากที่ได้รับข่าวเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้มีการคาดการณ์ที่ว่า BOJ จะขยายกรอบความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ให้กว้างขึ้น 0.25% ในการประชุมครั้งถัดไป"
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 138.98, 139.11, 139.30
แนวรับสำคัญ: 138.65, 138.47, 138.33
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 18 กรกฎาคม 2566 10:23 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 138.33 | 138.47 | 138.65 | 138.79 | 138.98 | 139.11 | 139.30 |
Fibonacci | 138.47 | 138.59 | 138.67 | 138.79 | 138.91 | 138.99 | 139.11 |
Camarilla | 138.74 | 138.77 | 138.80 | 138.79 | 138.85 | 138.88 | 138.91 |
Woodie's | 138.35 | 138.48 | 138.67 | 138.80 | 139.00 | 139.12 | 139.32 |
DeMark's | - | - | 138.72 | 138.82 | 139.04 | - | - |
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 138.47 - 138.65 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 138.65 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.11 และ SL ที่ประมาณ 138.33 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 138.98 - 139.11 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.30 และ SL ที่ประมาณ 138.47 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 138.98 - 139.11 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 138.98 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 138.47 และ SL ที่ประมาณ 139.30 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 138.47 - 138.65 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 138.33 และ SL ที่ประมาณ 139.11 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 18 กรกฎาคม 2566 10:23 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 41.004 | ขาย |
STOCH(9,6) | 58.695 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 84.353 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.700 | ขาย |
ADX(14) | 37.641 | ขาย |
Williams %R | -38.889 | ซื้อ |
CCI(14) | 39.5519 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.6279 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 44.710 | ขาย |
ROC | 0.032 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.0370 | ขาย |
ซื้อ:3 ขาย:5 ถือหุ้นไว้:2 สรุป:ขาย |