GBP ผันผวนท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์โดย Resolution Foundation ของอังกฤษเปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในสหราชอาณาจักรได้ส่งผลให้ความมั่งคั่งในครัวเรือนลดลงไปแล้วกว่า 2 ล้านล้านปอนด์ในปีที่ผ่านมา โดยอาจเป็นผลมาจากราคาที่อยู่อาศัยและมูลค่าของพันธบัตรที่ลดลง ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างมากต่อเงินบำนาญ
ทั้งนี้ ในปี 2564 ความมั่งคั่งของครัวเรือนได้พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.5 ล้านล้านปอนด์ แต่การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเมื่อเร็วๆ นี้ได้ส่งผลให้ความมั่งคั่งลดลงอย่างรวดเร็ว และมากที่สุดเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่อัตราส่วนความมั่งคั่งต่อจีดีพีลดลงจาก 840% เป็น 650% มาตั้งแต่ต้นปี 2566
ทางด้านรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารยังระบุว่า อังกฤษและเวลส์กำลังเผชิญกับจำนวนบริษัทที่ล้มละลายมากที่สุดในไตรมาสนับตั้งแต่ต้นปี 2552 โดยแนวโน้มนี้อาจเป็นผลมาจากธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและการผิดนัดชำระหนี้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว
โดยในเดือนมิถุนายน บริษัทกว่า 2,163 แห่งถูกประกาศว่าล้มละลาย เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าสถิติสูงสุดในเดือนพฤษภาคมเล็กน้อย ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 แต่ปัจจุบันยอดรวมสะสมสามเดือนที่สิ้นสุดในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 6,403 บริษัท ซึ่งหากตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันในรายงานรายไตรมาสอย่างเป็นทางการปลายเดือนนี้ จะนับเป็นตัวเลขสูงสุดสำหรับไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 อย่างไรก็ตาม RSM UK Restructuring Advisory คาดว่าการล้มละลายของบริษัทอาจปรับลดลงมากกว่า 10% ภายในสิ้นปีนี้ แม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษก็ตาม
ทางด้านตลาดที่อยู่อาศัยในอังกฤษมีสัญญาณชะลอตัวในเดือนมิถุนายน โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าตลาดที่อยู่อาศัยอาจซบเซาอย่างต่อเนื่องเนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นทำให้ผู้ซื้อรายใหม่หยุดชะงัก โดยตลาดที่อยู่อาศัยกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากอุปสงค์ของผู้ซื้อที่ลดลง ราคาบ้านที่ลดลง อัตราการกู้ยืมที่สูงขึ้น และความพยายามของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BOE) ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยคงที่สองปีถึงจุดสูงสุดในรอบ 15 ปี
ทั้งนี้ ตลาดการเงินคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศอังกฤษซึ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกเป็น 6.25% ภายในสิ้นปีนี้ จากอัตราปัจจุบันที่ 5%
ทางด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือนในวันอังคาร เนื่องจากตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐานที่แข็งแกร่งในเดือนมิถุนายน ในขณะที่นักลงทุนต่างเฝ้ารอการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างใจจดใจจ่อ และแม้ว่าตัวเลขยอดค้าปลีกทั่วไปของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% ในเดือนมิถุนายน และต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่ตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมรถยนต์ เชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง และบริการด้านอาหาร ยังคงแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น โดยพบว่าตัวเลขได้เพิ่มขึ้นในระดับปานกลางที่ 0.6%
นอกจากนี้ ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ ยังแสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างไม่คาดคิดของตัวเลขภาคการผลิตในโรงงานของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน แม้จะพบว่ามีการดีดตัวขึ้นในไตรมาสที่สอง ซึ่งได้แรงหนุนจากการผลิตยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากลดลงสองไตรมาสติดต่อกัน
ทั้งนี้ ตลาดฟิวเจอร์กองทุนเฟด (FFR) บ่งชี้ถึงโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 33 จุดในปีนี้ โดยคาดว่าจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยแตะจุดสูงสุดที่ 5.40% ในเดือนพฤศจิกายน จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินปอนด์มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบไปจนถึงแข็งค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐฯได้ในช่วงนี้ โดยแนวโน้มที่ชัดเจนยังคงขึ้นอยู่กับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่จะเผยแพร่ของทั้งสองประเทศ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.3041, 1.3046, 1.3053
แนวรับสำคัญ : 1.3027, 1.3022 , 1.3015
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3022 - 1.3027 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3027 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3042 และ SL ที่ประมาณ 1.3018 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3041 - 1.3046 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3055 และ SL ที่ประมาณ 1.3023 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3041 - 1.3046 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.3041 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3023 และ SL ที่ประมาณ 1.3050 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3022 - 1.3027 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3011 และ SL ที่ประมาณ 1.3045 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 19, 2023 09:39AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.3004 | 1.3015 | 1.3023 | 1.3034 | 1.3042 | 1.3053 | 1.3061 |
Fibonacci | 1.3015 | 1.3022 | 1.3027 | 1.3034 | 1.3041 | 1.3046 | 1.3053 |
Camarilla | 1.3024 | 1.3026 | 1.3028 | 1.3034 | 1.3031 | 1.3033 | 1.3035 |
Woodie's | 1.3002 | 1.3014 | 1.3021 | 1.3033 | 1.3040 | 1.3052 | 1.3059 |
DeMark's | - | - | 1.3019 | 1.3032 | 1.3037 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2