แคนาดาควบคุมเงินเฟ้อได้ดีกว่าที่คาดไว้
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BoC) ได้ส่งสัญญาณการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวซึ่งส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก โดยการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวในครั้งนั้นทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้นและอุปสงค์ที่กลับมาตึงตัวอีกครั้งในอีกห้าเดือนต่อมา
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว BoC ได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ถือว่าเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 22 ปีที่ 5.0% โดยที่ผู้ว่าการ Tiff Macklem มีการเตือนว่าธนาคารอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งหากมีความจำเป็นและข้อมูลทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ยังมีช่วงว่างให้ปรับขึ้นอยู่ โดยปัจจัยหลักที่ต้องจับตาคือการที่ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นนั้นมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อได้มากถึง 0.3 เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปี 2566 โดยตลาดที่อยู่อาศัยฟื้นตัวขึ้นทำให้ราคาขายเฉลี่ยของบ้านเพิ่มขึ้น 19% ใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมา
Tiff Macklem ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การหยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวในเดือนมกราคมเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้ว การหยุดขึ้นในครั้งนั้นทำไปเพื่อประเมินผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของ BoC แต่แล้วเศรษฐกิจก็ออกมาดีเกินความคาดหมายของธนาคาร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อไม่ให้ตลาดร้อนแรงเกินไปและถือว่าทำให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเงินเฟ้อขึ้นอีก”
การตัดสินใจที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งถือว่ามีส่วนช่วยให้อัตราเงินเฟ้อของแคนาดาลดลงด้วยเช่นกัน โดย CPI มีการลดลงเหลือเพียงแค่ 2.8% เท่านั้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 27 เดือนและถือว่าต่ำกว่า 3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ แม้ว่าจะมีข้อมูลที่แสดงถึงการเข้าพักอาศัยในที่อยู่อาศัยของแคนาดาเพิ่มขึ้นถึง 41% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ด้านข้อมูลการส่งออก น้ำมันก็ยังเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของแคนาดา โดยมีการส่งออกน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.2% คิดเป็นราคาที่ 75.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากการผลิตของสหรัฐได้ลดลงตามที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่อ่อนตัวเกินคาดและสงครามการค้าที่กำลังเกิดขึ้นเป็นตัวช่วยให้การส่งออกน้ำมันในแคนาดาดีขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแคนาดาอายุ 10 ปี (CA10YT=RR) ลดลงโดยลดลง 3.1 bps สู่ระดับที่ 3.370% เนื่องจากมีการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อในอเมริกาจึงความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐจะหยุดการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีแน้วโน้มที่จะลดลงด้วยจึงทำให้พันธบัตรหลายๆ ประเทศมีการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3174, 1.3182, 1.3188
แนวรับสำคัญ: 1.3160, 1.3154, 1.3146
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 19 กรกฎาคม 2566 13:53 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 1.3146 | 1.3154 | 1.3160 | 1.3168 | 1.3174 | 1.3182 | 1.3188 |
Fibonacci | 1.3154 | 1.3159 | 1.3163 | 1.3168 | 1.3173 | 1.3177 | 1.3182 |
Camarilla | 1.3163 | 1.3164 | 1.3165 | 1.3168 | 1.3168 | 1.3169 | 1.3170 |
Woodie's | 1.3146 | 1.3154 | 1.3160 | 1.3168 | 1.3174 | 1.3182 | 1.3188 |
DeMark's | - | - | 1.3157 | 1.3167 | 1.3171 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3174 - 1.3182 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3188 และ SL ที่ประมาณ 1.3154 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3174 - 1.3182 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3174 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3154 และ SL ที่ประมาณ 1.3188 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3154 - 1.3160 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3146 และ SL ที่ประมาณ 1.3182 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 19 กรกฎาคม 2566 13:53 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 47.196 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 29.137 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 36.982 | ขาย |
MACD(12,26) | -0.002 | ขาย |
ADX(14) | 26.737 | ซื้อ |
Williams %R | -46.512 | ถือหุ้นไว้ |
CCI(14) | -68.6924 | ขาย |
ATR(14) | 0.0033 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 40.426 | ขาย |
ROC | 0.469 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.0015 | ขาย |
ซื้อ:2 ขาย:6 ถือหุ้นไว้:3 สรุป:ขายทันที |