ECB คาดขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ล่าสุด นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 จุดพื้นฐานในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ และส่วนใหญ่ก็คาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายน โดย ECB จะติดตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้นโยบายแบบเข้มงวดที่มากเกินไป
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงเหลือ 5.5% ในเดือนมิถุนายน จากระดับสูงสุด 10.6% ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ECB ยังคงมุ่งมั่นที่จะจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ ที่คาดว่าจะยังคงสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง แม้ที่ผ่านมา ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันมาแล้วแปดครั้งตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 รวม 400 จุดพื้นฐาน แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันในหมู่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ถึงความจำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% โดยท่าทีของธนาคารกลางได้นำไปสู่การคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่อาจไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้
สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงต่ำกว่าระดับปัจจุบันที่ 6.8% เล็กน้อยภายในสิ้นปีนี้ โดยนักวิเคราะห์บางส่วนคาดว่าอาจมีการลดลงได้มากกว่านี้ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อค่าจ้าง ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบเด่นชัดที่สุดของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และอัตราการว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงสองปีข้างหน้า
อย่างไรก็ดี แม้ยูโรโซนจะพบอุปสงค์ที่ชะลอตัวและอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากการหดตัวของประเทศเศรษฐกิจหลักในกลุ่มอย่างเยอรมนี แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของยูโรโซนยังคงทรงตัวในไตรมาสแรกของปีปัจจุบัน โดยการสำรวจระบุว่ายูโรโซนคาดว่าจะเติบโต 0.2% ในแต่ละไตรมาสของปีนี้ (ไตรมาสที่ 2-4) และบรรลุอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 1.0% ในปี 2024
ทางด้านเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ประมาณ 5% ในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความคาดหวังของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แคบลง แม้ว่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นจะสามารถช่วยให้ราคาสินค้านำเข้าถูกลงได้ แต่อัตราเงินเฟ้อถูกคาดว่าจะไม่บรรลุเป้าหมายจนกว่าจะถึงปี 2568 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ ECB
ในทางกลับกัน ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ หลังจากจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานใหม่ลดลงอย่างไม่คาดคิด แตะระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน ทำให้เกิดความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปหากเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง โดยภาวะตึงตัวของตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงมีส่วนสนับสนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยให้สหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้ในปีนี้ ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ ได้บ่งชี้ว่าลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนในเดือนมิถุนายน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอุปทานที่อยู่อาศัยที่ขาดแคลนอย่างต่อเนื่องในตลาด ส่งผลให้ราคาบ้านชะลอตัวลง
อย่างไรก็ดี แนวโน้มเงินยูโรคาดว่าจะยังคงอยู่ในช่วงขาลงในช่วงนี้ เนื่องจากความต่างระหว่างผลตอบแทนของทั้งสองประเทศที่ยังคงห่างกันมาก และความร้อนแรงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งกว่าที่คิด ในขณะที่อาจพบการปรับตัวขึ้นของเงินยูโรได้บ้างตามข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายจากธนาคารกลางที่เผยแพร่
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.1137, 1.1141, 1.1146
แนวรับสำคัญ : 1.1127, 1.1123 , 1.1118
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.1122 - 1.1127 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.1127 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1141 และ SL ที่ประมาณ 1.1118 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.1137 - 1.1142 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1150 และ SL ที่ประมาณ 1.1123 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.1137 - 1.1142 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.1137 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1127 และ SL ที่ประมาณ 1.1146 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.1122 - 1.1127 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1115 และ SL ที่ประมาณ 1.1141 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 21, 2023 09:26AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.1113 | 1.1118 | 1.1127 | 1.1132 | 1.1141 | 1.1146 | 1.1155 |
Fibonacci | 1.1118 | 1.1123 | 1.1127 | 1.1132 | 1.1137 | 1.1141 | 1.1146 |
Camarilla | 1.1131 | 1.1132 | 1.1134 | 1.1132 | 1.1136 | 1.1138 | 1.1139 |
Woodie's | 1.1115 | 1.1119 | 1.1129 | 1.1133 | 1.1143 | 1.1147 | 1.1157 |
DeMark's | - | - | 1.1129 | 1.1133 | 1.1143 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2