BOJ คาดว่าจะคง YCC ท่ามกลางเศรษฐกิจที่เปราะบาง
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนไว้ตามเดิมในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้น เนื่องจากยังคงต้องการข้อมูลมากขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีข้อมูลว่า BOJ จะเริ่มยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อใด
ทั้งนี้ ตลาดบางส่วนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอาจปรับนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ในระหว่างการประชุมที่จะถึง เพื่อแก้ไขการบิดเบือนของตลาดที่เกิดจากการซื้อพันธบัตรจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายของ BOJ จำนวนมากยังคงมองว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขมาตรการ เนื่องจากอัตราผลตอบแทน 10 ปียังคงทรงตัวต่ำกว่าระดับสูงสุดที่ 0.5%
อย่างไรก็ดี แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นจะยังคงอยู่เหนือเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 2% เป็นเวลา 15 เดือนติดต่อกัน แต่สัญญาณการชะลอตัวของราคาพลังงานและบริการบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านค่าจ้างอาจยังไม่สามารถมีอิทธิพลมากพอที่จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในทันที
โดย BOJ มีแนวโน้มที่จะปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของผู้บริโภคสำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน แต่การคาดการณ์สำหรับปีงบประมาณ 2024 และ 2025 นั้นคาดว่าจะไม่พบการเปลี่ยนแปลง โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเกินเป้าหมายของ BOJ มานานกว่าหนึ่งปี แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของการส่งออก
ทั้งนี้ การเจรจาขอปรับขึ้นค่าจ้างเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าบริษัทต่างๆ ได้เสนอขึ้นค่าจ้างสูงสุดในรอบสามทศวรรษ ซึ่งนำไปสู่การคาดหวังถึงการปรับนโยบาย YCC ของ BOJ ที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการ BOJ ได้เน้นย้ำว่าการออกจากนโยบายที่เข้มงวดเป็นพิเศษในระยะสั้นนั้นไม่น่าเป็นไปได้ และอัตราเงินเฟ้อจะต้องได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่งและการเติบโตของค่าจ้างที่สูงขึ้นมากกว่านี้
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของปีงบประมาณปัจจุบัน โดยเน้นย้ำถึงความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยคาดว่าจะขยายตัว 1.3% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.5% ในเดือนมกราคม ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากผลกระทบของอุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลง
แม้ว่าทิศทางนโยบายของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคาดว่าจะแตกต่างจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรป แต่ตลาดยังคงเผชิญกับความผันผวนและความไม่แน่นอนว่าการประชุมของเฟดที่จะถึงอาจเป็นการส่งสัญญาณการสิ้นสุดการใช้นโยบายแบบเข้มงวด ในขณะที่ตลาดบางส่วนคาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นผลให้เงินเยนคาดว่าจะประสบกับความผันผวนในระยะสั้น เนื่องจากตลาดใช้ความระมัดระวังที่มากขึ้นและคาดการณ์ถึงโอกาสที่ BOJ อาจสร้างความประหลาดใจและเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินได้ โดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกและการตัดสินใจของธนาคารกลางรายใหญ่อื่นๆ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของค่าเงินเยนต่อไป
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 141.72, 141.82, 141.97
แนวรับสำคัญ : 141.40, 141.30 , 141.15
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 141.20 – 141.40 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 141.40 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.72 และ SL ที่ประมาณ 141.10 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 141.72 – 141.92 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.10 และ SL ที่ประมาณ 141.30 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 141.72 – 141.92 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 141.72 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.31 และ SL ที่ประมาณ 142.02 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 141.20 – 141.40 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.00 และ SL ที่ประมาณ 141.82 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jul 24, 2023 09:22AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 140.90 | 141.15 | 141.31 | 141.56 | 141.72 | 141.97 | 142.14 |
Fibonacci | 141.15 | 141.30 | 141.40 | 141.56 | 141.72 | 141.82 | 141.97 |
Camarilla | 141.35 | 141.39 | 141.43 | 141.56 | 141.50 | 141.54 | 141.58 |
Woodie's | 140.84 | 141.12 | 141.25 | 141.53 | 141.66 | 141.94 | 142.08 |
DeMark's | - | - | 141.23 | 141.52 | 141.64 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2