ยูโรโซนยังจำเป็นต้องต่อสู้กับเงินเฟ้อต่อไป
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยมีการรายงานว่าเงินเฟ้อในเยอรมนียังคงมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเยอรมนีถือว่าเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในสกุลเงินยูโร โดยเงินเฟ้อใประเทศเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนเป็น 6.8% ในปีนี้ เมื่อเทียบเคียงกับประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ ซึ่งเงินเฟ้อของยูโรโซนที่ได้ประกาศมาล่าสุดอยู่ที่ 5.5% เท่านั้นและมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่อง
ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 2 ปี (DE2YT=RR) ซึ่งเป็นตัวที่อ่อนไหวต่อการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายมากที่สุด ลดลง 3 bps มาอยู่ที่ 3.23% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของเยอรมนี (DE10YT=RR) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของกลุ่ม ลดลง 2 bps ที่ 2.43% และลดลง 4.6 bps เมื่อดูเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกัน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน
แม้ว่าเงินเฟ้อของเยอรมนียังคงสูงอยู่ แต่ก็มีนักวิเคราะห์บางคนได้คาดการณ์ไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นโดย ECB ในการประชุมที่จะมาถึงอาจเป็นครั้งสุดท้ายก็เป็นได้ หากพบว่าข้อมูลเศรษฐกิจยืนยันแล้วว่าเงินเฟ้อกำลังลดลง โดยในครั้งนี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับ Christine Lagarde ซึ่งเป็นประธานของ ECB มากเป็นพิเศษ และยังต้องการข้อมูลมากขึ้นเพื่อใช้ตัดสินใจในการลงทุน
นักวิเคราะห์คาดว่า Lagarde อาจจะไม่ระบุชัดเจนว่าจำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หรือความไม่แน่นอนใดๆ ในความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายในอนาคต โดยมีความคิดเห็นเพิ่มเติมจาก Christoph Rieger หัวหน้าฝ่ายวิจัยอัตราดอกเบี้ยและเครดิตของ Commerzbank บอกไว้ว่า “ECB จะไม่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอีกครั้งอย่างชัดเจนในการประชุมเดือนกันยายน” แต่ Rieger ก็คิดว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปัจจุบันจะส่งผลไปที่ผลตอบแทนของตลาดที่ลดลง
ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในยูโรโซนพบว่ามีการเพิ่มขึ้นเป็น -15.1 ในเดือนกรกฎาคม ถือว่าเป็นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ในปี 2565 และถือว่าเป็นค่าดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ -16 จากการประมาณการเบื้องต้น ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปรับขึ้นตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่มีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ
ทั้งนี้ยังพบว่า ต้นทุนการกู้ยืมในยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะลดลง หลังจากข้อมูลจากอังกฤษและสหรัฐแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่ของ ECB ซึ่งรวมถึง Klaas Knot หัวหน้าธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์กล่าวว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9038, 0.9043, 0.9052
แนวรับสำคัญ: 0.9024, 0.9015, 0.9009
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 25 กรกฎาคม 2566 15:41 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9009 | 0.9015 | 0.9024 | 0.9029 | 0.9038 | 0.9043 | 0.9052 |
Fibonacci | 0.9015 | 0.9020 | 0.9023 | 0.9029 | 0.9035 | 0.9038 | 0.9043 |
Camarilla | 0.9029 | 0.9030 | 0.9031 | 0.9029 | 0.9034 | 0.9035 | 0.9037 |
Woodie's | 0.9011 | 0.9016 | 0.9026 | 0.9030 | 0.9040 | 0.9044 | 0.9054 |
DeMark's | - | - | 0.9026 | 0.9030 | 0.9041 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9038 - 0.9043 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9052 และ SL ที่ประมาณ 0.9015 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9038 - 0.9043 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9038 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9015 และ SL ที่ประมาณ 0.9052 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9015 - 0.9024 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9009 และ SL ที่ประมาณ 0.9043 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 25 กรกฎาคม 2566 15:41 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 68.433 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 74.298 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 88.385 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.002 | ซื้อ |
ADX(14) | 38.174 | ซื้อ |
Williams %R | -10.800 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 142.3521 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0019 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0026 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 53.682 | ซื้อ |
ROC | 0.608 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0079 | ซื้อ |
ซื้อ:9 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |