เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้
เงินเยนมีการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่มีการประกาศอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่น ซึ่งเงินเฟ้อมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถึงแม้ว่าต้นทุนด้านพลังงานจะเริ่มปรับตัวลดลง แต่เงินเฟ้อของญี่ปุ่นก็ยังมีความเหนี่ยวแน่นอยู่ โดย CPI มีการเพิ่มขึ้นเป็น 3.3% ในเดือนมิถุนายน น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าที่ 3.5% ซึ่งก็ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี แต่ Core CPI มีการเพิ่มขึ้นถึง 4.2% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังคงใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้พิจารณานโยบายการเงินต่อไป
การที่เงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง ทำให้ BOJ ได้มีการตัดสินใจที่จะมีการปรับเปลี่ยนกลไกการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control: YCC) โดยทางธนาคารได้ให้สัญญาณเล็กน้อยว่าตั้งใจที่จะเริ่มปรับเปลี่ยน YCC ในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลง YCC เร็วที่สุดในปี 2024
Edward Moya นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของ OANDA ในนิวยอร์กกล่าวว่า "ความคาดหวังของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นยังคงมุ่งไปที่การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนให้ได้ตามผลตอบแทนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการปรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย"
การเงินอุดหนุนค่าไฟฟ้าจากรัฐบาลรวมถึงอุดหนุนการนำเข้าพลังงานเป็นปัจจัยหลักในการกดอัตราเงินเฟ้อในประเทศไม่ให้สูงมากเกินไป แต่เมื่อดูเงินเฟ้อของราคาอาหารยังคงสูงขึ้น โดยราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายเดือน ซึ่งมาจากการพึ่งพาการนำเข้ามากเกินไปทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีในช่วงต้นปี และการที่เงินเยนอ่อนค่าทำให้การนำเข้ามีราคาที่ต้องจ่ายมากขึ้น
เมื่อดูปัจจัยภายในประเทศ ดัชนี PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นลดลงเหลือ 49.4 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยการลดลงในครั้งนี้มาจากอุปสงค์ที่หดตัวลงและการเติบโตจากการจ้างงานที่หดตัวลงเช่นกัน ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ผู้ผลิตยังมองว่าภาระต้นทุนยังคงสูงอยู่ ทำให้มีการส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภคมากขึ้นและอาจทำให้การใช้จ่ายลดลง
PMI ภาคการบริการก็มีการลดลงเช่นกัน โดยลดลงเหลือ 53.9 จาก 54.0 ในเดือนก่อนหน้า โดยพบว่าการขยายตัวของธุรกิจอยู่ในระดับที่ช้าที่สุดที่ได้เคยบันทึกไว้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ การจ้างงานภาคบริการได้มีการลดลงเช่นเดียวกัน โดยได้รับผลกระทบมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ค่อยดีมากนัก นอกจากนี้ยังมีสัญญาณบอกถึงระดับความเชื่อมั่นที่ยังอ่อนแอเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 140.89, 141.42, 141.73
แนวรับสำคัญ: 140.04, 139.74, 139.20
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 26 กรกฎาคม 2566 16:38 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 139.20 | 139.74 | 140.04 | 140.58 | 140.89 | 141.42 | 141.73 |
Fibonacci | 139.74 | 140.06 | 140.26 | 140.58 | 140.90 | 141.10 | 141.42 |
Camarilla | 140.11 | 140.19 | 140.26 | 140.58 | 140.42 | 140.49 | 140.57 |
Woodie's | 139.08 | 139.68 | 139.92 | 140.52 | 140.77 | 141.36 | 141.61 |
DeMark's | - | - | 139.88 | 140.50 | 140.73 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 140.89 - 141.42 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.73 และ SL ที่ประมาณ 139.74 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 140.89 - 141.42 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 140.89 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.74 และ SL ที่ประมาณ 141.73 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 139.74 - 140.04 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.20 และ SL ที่ประมาณ 141.42 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 26 กรกฎาคม 2566 16:38 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 44.907 | ขาย |
STOCH(9,6) | 37.369 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 0.000 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.260 | ซื้อ |
ADX(14) | 41.426 | ขาย |
Williams %R | -96.594 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -231.6954 | ขายมากเกินไป |
ATR(14) | 0.4582 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.6982 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 31.334 | ขาย |
ROC | -1.068 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -1.0510 | ขาย |
ซื้อ:1 ขาย:7 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ขายทันที |