ยูโรโซนยังจำเป็นต้องจับตาดูเงินเฟ้อต่อไป
ยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากมีการประกาศอัตราเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป Christine Lagarde ยังบ่งบอกว่ามีสัญญาณการหยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวในเดือนกันยายน แต่ในเดือนนี้ก็คาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps โดยปรับขึ้นมาอยู่ที่ 4.25% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 9 โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มาจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงอยู่ แม้เงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงอย่างตอเนื่องแต่ก็ยังไม่อยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยที่ ECB ยังคงใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจเพื่อมาตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับไปสู่เป้าหมายที่ 2% และในเดือนถัดไปมีการคาดการณ์แล้วว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 bps เป็น 4.5%
อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนลดลงในเดือนกรกฎาคมโดยลดลงมาอยู่ที่ 5.3% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับธนาคารกลางยุโรป (ECB) แต่ทางผู้กำหนดนโบายบางคนคิดว่าการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้ยังถือว่าเร็วเกินไปที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับไปสู่เป้าหมาย 2% โดยทางนักลงทุนก็ยังมีความไม่มั่นใจต่อการดำเนินการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB แต่นักวิเคราะห์ก็คาดว่ามีโอกาสถึง 70% ที่จะหยุดชั่วคราวในเดือนกันยายน
Dirk Schumacher นักเศรษฐศาสตร์จาก Natixis กล่าวว่า "อัตราเงินเฟ้อภาคบริการควรเป็นที่ ที่นโยบายการเงินมีอิทธิพลมากที่สุด เพราะสะท้อนอุปสงค์ภายในประเทศ ดังนั้นการที่ผู้กำหนดนโยบายของ ECB จะสามารถตกลงที่จะหยุดชั่วคราวในเดือนกันยายนก็ควรที่จะดูจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในตอนนั้นเช่นเดียวกัน"
PMI ภาคการผลิตของ ยูโรโซนลดลงเหลือ 42.7 ในเดือนกรกฎาคม จาก 43.4 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำที่สุดในรอบสามปี เนื่องจากยังคงมีปัญหาจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB และทำให้มีสัญญาณถึงการลดลงของการผลิตในอนาคต เนื่องจากสินค้าที่ยังค้างสต็อกจำเป็นต้องรีบถูกเคลียร์เพื่อรักษาระดับการดำเนินงานในปัจจุบันและทำให้โรงงานต้องปรับข้อกำหนดการผลิต รวมถึงความต้องการปัจจัยการผลิตที่ลดลง
PMI ภาคการบริการของยูโรโซนลดลงเหลือ 51.1 ในเดือนกรกฎาคม จาก 52.0 ของเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 51.5 แต่ก็ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากอัตราการจ้างงานยังชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน และส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9107, 0.9115, 0.9124
แนวรับสำคัญ: 0.9089, 0.9081, 0.9072
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 1 สิงหาคม 2566 14:33 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9072 | 0.9081 | 0.9089 | 0.9098 | 0.9107 | 0.9115 | 0.9124 |
Fibonacci | 0.9081 | 0.9087 | 0.9091 | 0.9098 | 0.9105 | 0.9109 | 0.9115 |
Camarilla | 0.9094 | 0.9096 | 0.9097 | 0.9098 | 0.9100 | 0.9102 | 0.9104 |
Woodie's | 0.9072 | 0.9081 | 0.9089 | 0.9098 | 0.9107 | 0.9115 | 0.9124 |
DeMark's | - | - | 0.9094 | 0.9101 | 0.9112 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9107 - 0.9115 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9124 และ SL ที่ประมาณ 0.9081 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9107 - 0.9115 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9107 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9081 และ SL ที่ประมาณ 0.9124 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9081 - 0.9089 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9072 และ SL ที่ประมาณ 0.9115 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 1 สิงหาคม 2566 14:33 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 61.228 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 50.012 | ถือหุ้นไว้ |
STOCHRSI(14) | 59.132 | ซื้อ |
MACD(12,26) | 0.002 | ซื้อ |
ADX(14) | 26.290 | ซื้อ |
Williams %R | -34.665 | ซื้อ |
CCI(14) | 68.4354 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0024 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0006 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 55.278 | ซื้อ |
ROC | 0.092 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0037 | ซื้อ |
ซื้อ:10 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ซื้อทันที |