เศรษฐกิจแคนาดายังคงซบเซาอยู่แม้เงินเฟ้อจะลดลง
ดอลลาร์แคนาดาเริ่มกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยตัวเลขเงินเฟ้อของแคนาดาได้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยการลดลงในคร้งนี้อาจเป็นสัญญาณที่ดีที่ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BoC) อาจไม่จำเป็นต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากนัก แต่ถึงอย่างนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps ในเดือนนี้ จะเน้นไปที่การควบคุมความผันผวนด้านการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่อาจะเกิดขึ้นได้หากหยุดขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป
Karl Schamotta หัวหน้านักยุทธศาสตร์การตลาดของ Corpay กล่าวว่า "แม้อัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาอย่างรวดเร็ว แต่โมเมนตัมที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้อาจทำให้หลายภาคส่วนมีโอกาศที่จะอ่อนตัวลงได้อีก เนื่องจากการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยและจะส่งผลกระทบทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการ"
ทางด้านสหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มมีการปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน รวมถึงได้มีความคาดหวังที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยการฟื้นตัวของสหรัฐฯ จะส่งผลดีต่อแคนาดาคือการส่งออกน้ำมัน โดยน้ำมันถือว่าเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของแคนาดา นอกจากนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% ที่ 80.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
PMI ภาคการผลิตของแคนาดามีการเพิ่มสูงขึ้นเป็น 49.6 ในเดือนก่อนหน้า จาก 48.8 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 48.9 แม้ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นแต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้มีแรงกดดันต่อภาคการผลิตเช่นกัน รวมถึงยังคงมีปัจจัยทางธุรกิจที่คาดเดาไม่ได้ทำให้หลายบริษัทหันมาใช้กลยุทธ์การจัดซื้ออย่างระมัดระวังและลดระดับการจ้างงานลง
อัตราการว่างงานของแคนาดากำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มขึ้นถึง 5.4% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.3% ซึ่งนี่เป็นตัวเลขที่สูงกว่าช่วงที่เกิดโควิด 19 ระบาดอีกด้วย เมื่อคิดเป็นจำนวนคนจะอยู่ที่ 1.15 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสวนทางกับการจ้างงานที่ลดลง
ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของแคนาดาพุ่งสูงขึ้นเกิน 3.7% ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงสุดในรอบ 15 ปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนนี้เกิดจาก Fitch ได้ทำการปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ รวมถึงการคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BoC ในเดือนนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3374, 1.3386, 1.3402
แนวรับสำคัญ: 1.3346, 1.3330, 1.3317
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 4 สิงหาคม 2566 19:20 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 1.3317 | 1.3330 | 1.3346 | 1.3358 | 1.3374 | 1.3386 | 1.3402 |
Fibonacci | 1.3330 | 1.3340 | 1.3347 | 1.3358 | 1.3369 | 1.3376 | 1.3386 |
Camarilla | 1.3354 | 1.3357 | 1.3359 | 1.3358 | 1.3365 | 1.3367 | 1.3370 |
Woodie's | 1.3319 | 1.3331 | 1.3348 | 1.3359 | 1.3376 | 1.3387 | 1.3404 |
DeMark's | - | - | 1.3352 | 1.3361 | 1.3380 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3374 - 1.3386 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3402 และ SL ที่ประมาณ 1.3330 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3374 - 1.3386 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3374 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3330 และ SL ที่ประมาณ 1.3402 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3330 - 1.3346 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3317 และ SL ที่ประมาณ 1.3386 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 4 สิงหาคม 2566 19:20 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 69.489 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 75.576 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 68.880 | ซื้อ |
MACD(12,26) | 0.004 | ซื้อ |
ADX(14) | 57.377 | ซื้อ |
Williams %R | -1.695 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 111.8813 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0028 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0035 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 62.101 | ซื้อ |
ROC | 0.745 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0061 | ซื้อ |
ซื้อ:10 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |