การเคลื่อนไหวอัตราดอกเบี้ยจาก BOJ ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ล่าสุดได้สร้างความประหลาดใจและตัดสินใจปรับเพดานอัตราดอกเบี้ยส โดยได้แรงหนุนจากความกังวลว่าการคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษอาจนำไปสู่การอ่อนค่าของเงินเยนเช่นเดียวกับปีที่แล้ว โดยอิทธิพลจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะได้มีส่วนรวมในการตัดสินใจครั้งนี้ บ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายในอนาคตจะได้รับอิทธิพลจากทั้งการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและการเปลี่ยนแปลงของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพของเงินเยน
การมุ่งเน้นไปที่ความผันผวนของเงินเยน ยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจัดการกับผลกระทบระยะยาวของมาตรการกระตุ้นทางการเงินอย่าง ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยที่มีนัยสำคัญของญี่ปุ่นกับประเทศเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อสกุลเงินเยนที่ผ่านมา
โดยการเปลี่ยนแปลงล่าสุดหมายความว่า BOJ มีแนวโน้มที่จะละเว้นจากการปรับ YCC เพิ่มเติม เว้นแต่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นอย่างมาก โดยคาดว่าจะคงอัตราผลตอบแทน 10 ปีไว้ใกล้กับเพดานใหม่ที่ 1% ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญในปีหน้า เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะขึ้นอยู่กับข้อมูลเชิงลึกของข้อมูลค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ในขณะที่การผ่อนคลายเพดานอัตราผลตอบแทนทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีทะลุ 0.6% ในช่วงสั้น ๆ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2557 ธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งได้เตรียมรับมือและปรับพอร์ตการลงทุนพันธบัตรเพื่อคาดการณ์ผลตอบแทนที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ดี การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะสูงถึง 3.1% ต่อปีในไตรมาสที่สองนี้ ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นครั้งที่สาม โดยได้แรงหนุนส่วนใหญ่จากการส่งออกที่แข็งแกร่ง แม้ว่าอุปสงค์ทั่วโลกจะชะลอตัวลงก็ตาม โดย BOJ ได้พยายามที่จะยุติโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทางด้านสหรัฐอเมริกา การจ้างงานที่เติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงเดือนกรกฎาคม ได้นำไปสู่การคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างที่สูงขึ้นบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้สูงเป็นระยะเวลานาน โดยแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะพบว่ามีงานเปิดรับเพิ่มน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานที่ลดลงบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานตึงตัวอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้แนวโน้มขาขึ้นของเงินดอลลาร์หยุดชะงักเมื่อเร็ว ๆ นี้ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนตั๋วคลังคาดว่าจะมีระยะแค่ช่วงสั้นๆ โดยข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคที่จะเผยแพร่ คาดว่าอาจจะแสดงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นแบบปีต่อปีครั้งแรกตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่ากว่าเงินเยนได้อยู่บ้างในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 142.05, 142.13, 142.24
แนวรับสำคัญ : 141.83, 141.75 , 141.64
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 141.73 – 141.83 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 141.83 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.13 และ SL ที่ประมาณ 141.68 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 142.05 – 142.15 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.24 และ SL ที่ประมาณ 141.78 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 142.05 – 142.15 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 142.05 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.83 และ SL ที่ประมาณ 142.20 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 141.73 – 141.83 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.64 และ SL ที่ประมาณ 142.10 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Aug 07, 2023 10:00AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 141.53 | 141.64 | 141.83 | 141.94 | 142.13 | 142.24 | 142.43 |
Fibonacci | 141.64 | 141.75 | 141.83 | 141.94 | 142.05 | 142.13 | 142.24 |
Camarilla | 141.93 | 141.96 | 141.99 | 141.94 | 142.04 | 142.07 | 142.10 |
Woodie's | 141.57 | 141.66 | 141.87 | 141.96 | 142.17 | 142.26 | 142.47 |
DeMark's | - | - | 141.88 | 141.97 | 142.19 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2