บทวิเคราะห์ USD/CAD วันที่ 9 สิงหาคม 2566

บทวิเคราะห์ USD/CAD วันที่ 9 สิงหาคม 2566
Create at 1 year ago (Aug 09, 2023 09:27)

เศรษฐกิจแคนาดาหดตัว การสูญเสียในภาคแรงงานท้าทายแผนขึ้นดอกเบี้ย

ในเดือนกรกฎาคม กิจกรรมทางเศรษฐกิจของแคนาดาหดตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือน สาเหตุหลักมาจากการจ้างงานที่ลดลง ตามข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของ Ivey ที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์

ทั้งนี้ เศรษฐกิจแคนาดาเผชิญกับจำนวนงานที่ลดลงรวม 6,400 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคมอย่างไม่คาดคิด ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 5.5% ตรงกันข้ามกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และตอกย้ำความคาดหวังว่าธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะยุติการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย โดยจำนวนงานที่ลดลงนี้ถือเป็นครั้งที่สองในรอบสามเดือน ตามรายงานโดยสำนักงานสถิติแคนาดา

อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานของแคนาดายังคงแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้อพยพที่แข็งแกร่ง แม้ว่าธนาคารกลางจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้วกว่าสิบครั้งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565

โดยธนาคารแห่งประเทศแคนาดาซึ่งกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย 2% ได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อเร็ว ๆ นี้ทั้งในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางได้ระบุถึงทิศทางต่อจากนี้ที่จะใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ตามการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะเผยแพร่อย่างใกล้ชิด โดยการประกาศนโยบายครั้งต่อไปจากธนาคารแห่งประเทศแคนาดามีกำหนดในวันที่ 6 กันยายน

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของตลาดได้เปลี่ยนไปเล็กน้อยหลังจากการเปิดเผยข้อมูลที่ผ่านมา โดยความน่าจะเป็นของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนซึ่งสะท้อนให้เห็นในตลาดเงิน ลดลงจาก 32% เป็น 28% ในขณะที่ความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมภายในสิ้นปีได้ลดลงจาก 80% เป็น 60% บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ผ่อนคลายมากขึ้น

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจต่างๆ จะชี้ให้เห็นถึงความซบเซาทางเศรษฐกิจ แต่ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงสำหรับพนักงานประจำ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้หลักที่ธนาคารแห่งประเทศแคนาดาติดตามอย่างใกล้ชิดนั้น พบว่าเพิ่มขึ้น 5.0% จากเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยแม้ว่าการเติบโตนี้จะมากกว่าการเพิ่มขึ้น 3.9 % ในเดือนมิถุนายน แต่ยังคงต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นที่ 5.1% ในเดือนพฤษภาคมและ 5.2% ในเดือนเมษายน

ทางด้านการค้า การขาดดุลการค้าของแคนาดาขยายตัวในเดือนมิถุนายน นับเป็นการขาดดุลที่มากที่สุดในรอบเกือบสามปี โดยได้รับแรงกดดันจากการส่งออกที่ลดลง 2.2% แซงหน้าการนำเข้าที่ลดลง 0.5% ซึ่งความไม่สมดุลทางการค้านี้ได้รับอิทธิพลจากความท้าทายต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ราคาต้นทุนที่ไม่เอื้ออำนวยและสภาวะเครดิตที่ผู้ส่งออกต้องเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดดุลการค้าของแคนาดากับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการส่งออกที่ลดลง 5.5% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน ร่วมด้วยการนำเข้าที่ลดลงเพียงเล็กน้อย

ทั้งนี้ การลดลงของการส่งออกได้ขยายกว้างในหลายธุรกิจ นำโดยผลิตภัณฑ์แร่โลหะและอโลหะ ในขณะที่การนำเข้าที่ลดลง 0.5% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการนำเข้าที่ลดลงของผลิตภัณฑ์พลังงานและเวชภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม พบการนำเข้าทองคำที่ไม่ได้ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งช่วยชดเชยการลดลงของสินค้านำเข้าประเภทอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะมีข้อมูลที่สำคัญ 2 ชุดที่ต้องพิจารณาก่อนประกาศอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 6 กันยายน ได้แก่ ข้อมูลเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมที่จะเผยแพร่ในวันที่ 15 สิงหาคม และตัวเลขการเติบโตในไตรมาสที่ 2 ในวันที่ 1 กันยายน

ในขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในตลาดโลกเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย รวมถึงการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ Moody's ของธนาคารขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายแห่งของสหรัฐฯ พร้อมกับความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเงินทุนและความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงในภาคการธนาคาร ส่งผงให้ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงการซื้อขายทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยได้แรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ตลาดและการขายหุ้นในวอลล์สตรีท

ปัจจุบัน นักลงทุนจะให้ความสนใจไปที่ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งคาดว่าจะเปิดเผยราคาผู้บริโภคหลักที่เพิ่มขึ้น 4.8% ต่อปีในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิดและอาจมีผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัวไปจนถึงแข็งค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์แคนาดาได้ในช่วงนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/CAD

แนวต้านสำคัญ : 1.3438, 1.3446, 1.3460

แนวรับสำคัญ : 1.3410, 1.3402 , 1.3388                 

5H Outlook

วิเคราะห์ USD/CAD ที่มา: Investing.com                       

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3400 - 1.3410 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3410 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3438 และ SL ที่ประมาณ 1.3395 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3438 - 1.3448 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3460 และ SL ที่ประมาณ 1.3405 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3438 - 1.3448 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3438 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3401 และ SL ที่ประมาณ 1.3453 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3400 - 1.3410 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3388 และ SL ที่ประมาณ 1.3443 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Aug 09, 2023 09:14AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 1.3366 1.3388 1.3401 1.3424 1.3437 1.3460 1.3473
Fibonacci 1.3388 1.3402 1.3410 1.3424 1.3438 1.3446 1.3460
Camarilla 1.3405 1.3408 1.3412 1.3424 1.3418 1.3422 1.3425
Woodie's 1.3362 1.3386 1.3397 1.3422 1.3433 1.3458 1.3469
DeMark's - - 1.3395 1.3421 1.3431 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES