รัสเซียต้องเผชิญหน้ากับอัตราเงินเฟ้ออีกครั้ง
เงินรูเบิลมีการแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย หลังจากธนาคารกลางรัสเซีย (CBR) ได้ประกาศว่าจะมีการประชุมนโยบายพิเศษในวันนี้ โดยมีการคาดการณ์จากเหล่านักลงทุนและนักวิเเคราะห์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปที่ 10% หลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งก่อนที่ 8.5% ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไปถึง 100 bps โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มากขนาดนี้น่าจะมาจากเงินรูเบิลที่กำลังอ่อนค่าลงต่อเนื่องและปัญหาเงินเฟ้อที่น่าจะกลับมากอีกครั้ง
อัตราเงินเฟ้อที่ได้มีการประกาศไว้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่อัตราเงินเฟ้อมีการเพิ่มสูงถึง 4.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าที่คาดไว้ที่ 4.1% ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วพบว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.3% เท่านั้น ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งบอกได้ว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นยังไม่ถึงจุดสูงสุดและสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกแม้ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยถือ 8.5% ในครั้งที่แล้ว โดยทาง CBR ยังมีความหวังว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายที่ 4% ภายในปี 2567
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา CBR ได้ทำการระงับการซื้อสกุลเงินต่างประเทศของกระทรวงการคลังเพื่อลดความผันผวนที่เกิดขึ้นกับรูเบิล แต่ทางด้านนักวิเคราะห์กลับเห็นตรงกันข้าม โดยให้ความเห็นว่าการระงับการซื้อสกุลเงินต่างประเทศนั้นเป็นมาตราการที่อ่อนเกินไปในการพยุงค่าเงินรูเบิลที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว
ปัญหาหลักของรัสเซียที่เกิดขึ้นในตอนนี้ยังคงเป็นสงครามที่เกิดขึ้นกับยูเครนและไม่มีที่ท่าว่าจะเกิดการประณีประนอมกันด้วย จึงทำให้การใช้จ่ายของภาครัฐจำเป็นต้องสนับสนุนทางด้านการทหารมากขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดการขาดดุนงบประมาณในปริมาณมหาศาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างแน่นอน
การขาดดุลงบประมาณที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากการใช้งบประมาณที่มากเกินไปกับการทหาร ด้านการนำเข้าสินค้าและบริการเองก็ได้รบผลกระทบจากการที่รูเบิลอ่อนค่าลง ด้านการส่งออกน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าหลักของรัสเซียก็ยังทำได้ไม่ดีมากนักจากการคว่ำบาตรที่เกิดขึ้น จึงทำให้ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องซื้อน้ำมันจากแหล่งอื่น
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอย่างแน่นอน บริษัทต่างๆ ที่เป็นผู้กู้ย่อมได้รับผลทั้งอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นด้วย ถึงจำเป็นต้องมีการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสิ้นค้า ทางด้านประชาชนเองก็ไม่ต่างกัน โดยเงินเดือนไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นตรงข้ามกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้เกิดหนี้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง จึงเป็นเหตุที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้สูงขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 99.2576, 100.6260, 102.6729
แนวรับสำคัญ: 95.8423, 93.7954, 92.4270
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 15 สิงหาคม 2566 17:17 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 92.4270 | 93.7954 | 95.8423 | 97.2107 | 99.2576 | 100.6260 | 102.6729 |
Fibonacci | 93.7954 | 95.1000 | 95.9061 | 97.2107 | 98.5153 | 99.3214 | 100.6260 |
Camarilla | 96.9500 | 97.2631 | 97.5761 | 97.2107 | 98.2023 | 98.5153 | 98.8284 |
Woodie's | 92.7662 | 93.9650 | 96.1815 | 97.3803 | 99.5968 | 100.7956 | 103.0121 |
DeMark's | - | - | 96.5265 | 97.5528 | 99.9418 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 99.2576 - 100.6260 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 102.6729 และ SL ที่ประมาณ 93.7954 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 99.2576 - 100.6260 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 99.2576 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 93.7954 และ SL ที่ประมาณ 102.6729 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 93.7954 - 95.8423 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 92.4270 และ SL ที่ประมาณ 100.6260 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 15 สิงหาคม 2566 17:17 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 54.245 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 49.400 | ถือหุ้นไว้ |
STOCHRSI(14) | 8.057 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.790 | ซื้อ |
ADX(14) | 39.733 | ซื้อ |
Williams %R | -54.964 | ถือหุ้นไว้ |
CCI(14) | -30.7118 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.9707 | ผันผวนสูง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 56.194 | ซื้อ |
ROC | 0.758 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.7047 | ขาย |
ซื้อ:4 ขาย:1 ถือหุ้นไว้:5 สรุป:ซื้อ |