เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเติบโตได้ดี
เงินเยนยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องโดยล่าสุดได้อ่อนค่าเกิน 145 เยนไปเป็นที่เรียบร้อย โดยที่มีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ว่าญี่ปุ่นจะเช้ามาแทรกแซงค่าเงินอีกครั้งหากเงินเยนอ่อนค่าเกิน 145 เยน โดยมีการอ้างอิงจากปีที่แล้วในเดือนกันยายน ญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงเงินเยน ณ ตอนนั้นที่อยู่ประมาณ 145 เยนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นการทำให้เยนกลับไปแข็งค่าอยู่ที่ประมาณ 140 เยน แต่ในครั้งนี้ญี่ปุ่นอาจเข้ามาแทรกแซงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จำเป็นต้องใช้งบประมาณพอสมควร
จารุ ชานานะ นักยุทธศาสตร์การตลาดของ Saxo Markets กล่าวว่า "การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น ยังไม่ได้กล่าวถึงการแทรกแซงค่าเงิน แสดงให้เห็นว่าระดับความอดทนของธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจสูงขึ้นหลังจากการปรับนโยบายการเงินครั้งล่าสุด รวมถึงจำเป็นต้องจับตามองแนวโน้มเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ด้วย"
ทางด้านสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ได้มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยไปอยู่ที่ 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) จากที่คาดการณ์ที่ 0.2% และเพิ่มขึ้นถึง 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) จากที่คาดการณ์ที่ 0.7% โดยที่ PPI สำหรับพลังงานอยู่ที่ 0.0% ในเดือนนี้ จากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงและการคาดการณ์ว่าเฟดจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไปทำให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มมีมุมมองที่ดีมากขึ้นต่อสภาพตลาดในปัจจุบัน
มีการรายงายว่า GDP ของญี่ปุ่นขยายตัวถึง 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) และขยายตัวถึง 1.5% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส (QoQ) ในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา โดยเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นแค่ 0.8% เท่านั้นและถือว่าเป็นตัวเร่งที่ดีจากการเติบโต 0.9% ในไตรมาสที่ 1 และเป็นการขยายตัวของ GDP 2 ไตรมาสติดต่อกันและถือเป็นการขยายตัวเร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 3.2% และการที่เยนอ่อนค่าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกมีกำไรมหาศาล
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.4 % เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) หลังจากที่ลดลง 2.2% ในเดือนก่อนหน้า โดยภาคการผลิตส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตที่เพิ่มมากขึ้นแสดงถึงอุปสงค์ที่มีการเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความจำเป็นต่อหลายภาคส่วนและเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญสำหรับอุปกรณ์หลายอย่างในปัจจุบัน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 145.90, 146.15, 146.43
แนวรับสำคัญ: 145.37, 145.09, 144.84
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 15 สิงหาคม 2566 18:09 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 144.84 | 145.09 | 145.37 | 145.62 | 145.90 | 146.15 | 146.43 |
Fibonacci | 145.09 | 145.29 | 145.42 | 145.62 | 145.82 | 145.95 | 146.15 |
Camarilla | 145.50 | 145.55 | 145.60 | 145.62 | 145.69 | 145.74 | 145.79 |
Woodie's | 144.84 | 145.09 | 145.37 | 145.62 | 145.90 | 146.15 | 146.43 |
DeMark's | - | - | 145.49 | 145.68 | 146.02 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 145.90 - 146.15 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.43 และ SL ที่ประมาณ 145.09 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 145.90 - 146.15 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 145.90 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.09 และ SL ที่ประมาณ 146.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 145.09 - 145.37 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.84 และ SL ที่ประมาณ 146.15 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 15 สิงหาคม 2566 18:09 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 73.918 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 71.725 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 66.525 | ซื้อ |
MACD(12,26) | 0.570 | ซื้อ |
ADX(14) | 46.428 | ซื้อ |
Williams %R | -21.875 | ซื้อ |
CCI(14) | 124.8192 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.3307 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.2932 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 59.471 | ซื้อ |
ROC | 0.483 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.9870 | ซื้อ |
ซื้อ:11 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |