เศรษฐกิจในยูโรโซนเริ่มดีขึ้นแต่เงินเฟ้อยังคงอยู่
เงินยูโรยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง แม้การคาดการณ์ข้อมูลทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดีขึ้นมาบ้างแล้ว โดยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ก็ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เงินสกุลอื่นทั่วโลกอ่อนค่าลงในช่วงนี้ ทางธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ให้สัญญาณแล้วว่ายังมีความจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อกดดันเงินเฟ้อให้ลงมาสู่เป้าหมายที่ 2% และมีความจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกแม้ว่าทางสหรัฐฯ จะหยุดขึ้นแล้วก็ตาม
มีการคาดการณ์จากอัตราเงินเฟ้อจาก ECB ที่จะประกาศในวันนี้ว่าจะมีการลดลงอีก โดยจะลดลงไปที่ 5.3% ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงแต่ Core CPI เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมากลับไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย โดยการคาดการณ์ Core CPI ยังคงอยู่ที่ 5.5% ซี่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับเดือนที่แล้ว
ข้อมูลที่ได้ประกาศเมื่อวานที่ผ่านมาพบว่า ยูโรโซนเกินดุลการค้า 2.3 หมื่นล้านยูโรในเดือนมิถุนายน โดยในเดือนเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมาขาดดุล 2.71 หมื่นล้านยูโร ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นฟูขึ้นมาแล้ว ตัวเลขที่เกินดุลในครั้งนี้มากกว่าการคาดการณ์ไว้ที่ 1.83 หมื่นล้านยูโร เมื่อมาดูการนำเข้าพบว่ามีการลดลงถึง 17.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็นมูลค่า 229,300 ล้านยูโร โดยการนำเข้าพลังงานลดลงมากที่สุดที่ 47.5% ในทางกลับกัน การส่งออกเพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 252.3 พันล้านยูโร โดยได้แรงหนุนหลักจากการขนส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ โดยมีการเพิ่มขึ้น 10.7%
การส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลมากจากการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีการเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน (MoM) ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 0.1%
ซึ่งจำนวนผู้มีงานทำก็มีการเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มขึ้น 0.2% จากไตรมาสก่อนหน้าเป็น 166,700 คน การที่มีจำนวนคนได้งานเยอะขึ้นหมายความว่าตลาดแรงงานยังคงคึกคักและมีแนวโน้มที่จะผลักดันให้ ECB มีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้การขึ้นดอกเบี้ยต้องดูจากการเติบโตของการจ้างงานด้วยเช่นกัน
ผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาลของยูโรโซนเริ่มมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ผลตอบแทนลดลงไปเล็กน้อย โดยผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีได้เพิ่มขึ้นกลับไปที่ 3.59% อีกครั้ง โดยใกล้กับจุดสูงสุดเดิมที่ 3.66% ที่เกิดขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ทางด้านผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ก็มีการเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยให้ผลตอบแทนที่ 3.44% การที่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นแสดงว่านักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อเศรษฐกิจภายในยูโรโซนรวมถึงมีการคาดการณ์ว่า EcB จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกทำให้มีการเทขายพันธบัตรเกิดขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9204, 0.9211, 0.9223
แนวรับสำคัญ: 0.9185, 0.9173, 0.9166
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 18 สิงหาคม 2566 14:58 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9166 | 0.9173 | 0.9185 | 0.9192 | 0.9204 | 0.9211 | 0.9223 |
Fibonacci | 0.9173 | 0.9180 | 0.9185 | 0.9192 | 0.9199 | 0.9204 | 0.9211 |
Camarilla | 0.9192 | 0.9194 | 0.9196 | 0.9192 | 0.9199 | 0.9201 | 0.9203 |
Woodie's | 0.9168 | 0.9174 | 0.9187 | 0.9193 | 0.9206 | 0.9212 | 0.9225 |
DeMark's | - | - | 0.9188 | 0.9194 | 0.9207 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9204 - 0.9211 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9185 และ SL ที่ประมาณ 0.9173 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9204 - 0.9211 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9204 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9173 และ SL ที่ประมาณ 0.9185 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9173 - 0.9185 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9166 และ SL ที่ประมาณ 0.9211 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 18 สิงหาคม 2566 14:58 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 61.429 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 72.480 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 63.785 | ซื้อ |
MACD(12,26) | 0.002 | ซื้อ |
ADX(14) | 20.804 | ซื้อ |
Williams %R | -15.865 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 92.0392 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0022 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0007 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 56.493 | ซื้อ |
ROC | 0.628 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0037 | ซื้อ |
ซื้อ:10 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |