บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 21 สิงหาคม 2566

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 21 สิงหาคม 2566
Create at 1 year ago (Aug 21, 2023 09:43)

เยนอ่อนค่าหนุนอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่น กดดัน BOJ

ในเดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคของญี่ปุ่นสูงเกินความคาดหมาย เนื่องจากเงินเยนที่อ่อนค่า ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น เพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ในการเริ่มใช้นโยบายแบบเข้มงวด ในทางกลับกัน ราคาผู้บริโภคทั่วไปพบว่าชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้ BOJ ไม่รีบเร่งที่จะยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน โดยเพิ่มขึ้น 3.1% ตรงกับการคาดการณ์ของตลาดและรักษาระดับเหนือกรอบเป้าหมาย BOJ ที่ 2% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 ในขณะที่ดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงานเร่งตัวขึ้นเป็น 4.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกรกฎาคม

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่คงที่สำหรับสินค้าไม่คงทน การพักผ่อน และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ในการสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยการใช้จ่ายนี้มีส่วนทำให้ GDP ไตรมาสสองแข็งแกร่งเกินคาด อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าการเพิ่มขึ้นนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เนื่องจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวในจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกในญี่ปุ่น

นอกจากนี้ แม้ว่ามาตรการเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะช่วยควบคุมราคาไฟฟ้าและอัตราเงินเฟ้อลงได้บ้าง แต่แรงกดดันด้านราคาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบของมาตรการช่วยเหลือที่เริ่มส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่การอ่อนค่าของเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ทำให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น และสร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงแรงกดดันให้ BOJ เลิกใช้นโยบายผ่อนคลายแบบพิเศษ แม้ว่าจะมีการขยายนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนในเดือนกรกฎาคมบ้างแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ดี ผู้ว่าการ BOJ ยังคงเน้นย้ำถึงการคงนโยบายผ่อนคลายจนกว่าอุปสงค์ในประเทศและการเติบโตของค่าจ้างจะผลักดันอัตราเงินเฟ้อได้ แม้ว่าจะมีสัญญาณของการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อจากภาคบริการก็ตาม ในขณะที่ต้นทุนอาหารซึ่งได้แรงกดดันจากราคาวัตถุดิบที่สูงมีส่วนสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อโดยรวม

ทางด้านการส่งออกของญี่ปุ่นลดลงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2.5 ปี ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการน้ำมันและอุปกรณ์การผลิตชิปที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีน สร้างความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก แม้จะพบการใช้จ่ายและการลงทุนของบริษัทต่างๆ เพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ในขณะที่ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนคาดว่าจะลดลงเนื่องจากอุปสงค์นอกชายฝั่งที่อ่อนแอ

ในขณะเดียวกัน บริษัทญี่ปุ่นประมาณ 40% คาดว่าการปรับนโยบายล่าสุดของ BOJ จะส่งผลกระทบต่อการระดมทุน โดยเน้นย้ำถึงความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงหลังจากมีการใช้นโยบายแบบผ่อนคลายมาหลายปี โดยอาจสร้างความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น จากการเปลี่ยนจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมายาวนานหลายทศวรรษ

ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินเยนในขณะเดียวกันแม้จะช่วยการส่งออก แต่ก็ได้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงของทางการญี่ปุ่น หลังจากที่มีการเข้าแทรกแซงอย่างหนักในปีที่ผ่านมา

ทางด้านดอลลาร์ปิดตลาดทรงตัวในวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณแนวโน้มขาขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ห้า ยาวนานที่สุดในรอบ 15 เดือน โดยการเพิ่มขึ้นนี้ได้รับแรงหนุนจากความนิยมในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของจีนและการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

ความสนใจของตลาดจึงมุ่งเน้นไปที่คำแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม เพาเวลล์ โดยนักวิเคราะห์ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงความจำเป็นในการใช้นโยบายเข้มงวดเพิ่มเติมเพื่อจัดการกับอัตราเงินเฟ้อ หรือความเพียงพอที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน รวมถึงการคาดการณ์ถึงสัญญาณเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ในขณะที่จากเครื่องมือตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยของเฟดจาก Investing.com ระบุว่ามีความเป็นไปได้ 89% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบันในระหว่างการประชุมเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินเยนถูกกดันอย่างต่อเนื่องได้ในช่วงนี้หากยังไม่มีการเข้าแทรกแซงค่าเงินจากทางการญี่ปุ่น

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 145.57, 145.67, 145.82

แนวรับสำคัญ : 145.27, 145.17, 145.02            

1H Outlook  

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: Investing.com                                                               

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 145.17 – 145.27 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 145.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.69 และ SL ที่ประมาณ 145.12 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 145.57 – 145.67 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.82 และ SL ที่ประมาณ 145.22 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 145.57 – 145.67 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 145.57 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.28 และ SL ที่ประมาณ 145.72 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 145.17 – 145.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.02 และ SL ที่ประมาณ 145.62 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Aug 21, 2023 09:26AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 144.88 145.02 145.28 145.42 145.69 145.82 146.09
Fibonacci 145.02 145.17 145.27 145.42 145.57 145.67 145.82
Camarilla 145.43 145.47 145.51 145.42 145.58 145.62 145.66
Woodie's 144.94 145.05 145.34 145.45 145.75 145.85 146.15
DeMark's - - 145.35 145.46 145.76 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES