จีนเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง
เงินหยวนเริ่มกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งหลังจากที่ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) มีความพยายามที่จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นโดยมีการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะเวลา 1 ปี (LPR) ลง 10 bps เป็น 3.45% แต่คงอัตราดอกเบี้ย 5 ปีที่ 4.2% โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในครั้งนี้ทำเพื่อกระตุ้นการเกิดสินเชื่อและต้องการเกิดเงินเฟ้ออ่อนๆ ด้วย ซึ่งอัตราเงินเฟ้อล่าสุดของจีนเริ่มมีการติดลบที่ 0.3% แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นการคุมค่าเงินหยวนจาก PBOC ก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้กับเรื่องอื่น
มาซายูกิ คิชิกาวะ หัวหน้านักยุทธศาสตร์มหภาคของ Sumitomo Mitsui DS Asset Management กล่าวว่า “จีนจำเป็นต้องจำกัดขนาดและขอบเขตของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันขาลงของเงินหยวนจากการที่ภาคส่วนหลายส่วนอ่อนแอ ทั้งนี้หากมีการลดอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป การที่จะควบคุมให้หยวนกลับมาแข็งค่าอีกครั้งจะยิ่งยากมากขึ้น"
แม้เงินหยวนภายในประเทศจะมีการอ่อนค่าลงแต่เมื่อเทียบกับเงินหยวนนอกชายฝั่ง (Yuan Offshore) ที่ใช้ในการค้าขายในโซนยุโรปกลับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับ Yuan Onshore ซึ่งหมายว่าความว่าการนำเข้าสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นมีโอกาสได้ราคาที่ถูกลงเล็กน้อย แต่ถึงอย่างนั้นการจับตาดูจีนว่าจะสามารถจัดการปัญหาที่เกิดภายในประเทศได้หรือไม่ ก็ยังเป็นส่วนที่สำคัญ
มีการรายงานจากแหล่งข่าวได้ติดต่อกับรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ธนาคารของรัฐรายใหญ่ของจีนยังมีการเทขายดอลลาร์อย่างต่อเนื่องเพื่อซื้อหยวนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั้งในและนอกชายฝั่งโดยได้รับนโยบายเพื่อควบคุมเงินหยวนจากภาครัฐ โดยที่การเทขายดอลลาร์ที่เกิดขึ้นยังคงดำเนินต่อไปอย่างแน่นอนเนื่องจากธนาคารรายใหญ่ของจีนยังมีการสำรองดอลลาร์ไว้จำนวนมาก
แม้ว่าจีนจะเริ่มมีนโยบายที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นยังเกิดความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับทิศทางความพยายามของจีนในการพยุงเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อจีนก็มีแนวโน้มที่จะระมัดระวังมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังมีการจับตาดูภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อไปแม้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว
นักวิเคราะห์จาก ING ระบุในหมายเหตุว่า “การพัฒนาและการสนับสนุนจากภาครัฐในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่กำลังตกต่ำยังถือว่าเป็นความท้าทายที่สำคัญและกำลังกลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่โดดเด่นที่สุดสำหรับความเชื่อมั่นในตลาดหากจีนสามารถฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ได้สำเร็จ”
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 7.2517, 7.2985, 7.3349
แนวรับสำคัญ: 7.1685, 7.1321, 7.0853
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 22 สิงหาคม 2566 17:23 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 7.0853 | 7.1321 | 7.1685 | 7.2153 | 7.2517 | 7.2985 | 7.3349 |
Fibonacci | 7.1321 | 7.1639 | 7.1835 | 7.2153 | 7.2471 | 7.2667 | 7.2985 |
Camarilla | 7.1819 | 7.1895 | 7.1972 | 7.2153 | 7.2124 | 7.2201 | 7.2277 |
Woodie's | 7.0801 | 7.1295 | 7.1633 | 7.2127 | 7.2465 | 7.2959 | 7.3297 |
DeMark's | - | - | 7.1918 | 7.2270 | 7.2751 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2517 - 7.2985 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.3349 และ SL ที่ประมาณ 7.1321 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2517 - 7.2985 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.2517 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.1321 และ SL ที่ประมาณ 7.3349 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 7.1321 - 7.1685 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.0853 และ SL ที่ประมาณ 7.2985 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 22 สิงหาคม 2566 17:23 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 55.408 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 35.667 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 85.736 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.003 | ขาย |
ADX(14) | 14.555 | ถือหุ้นไว้ |
Williams %R | -13.321 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | -6.1180 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0479 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0097 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 47.662 | ขาย |
ROC | 0.270 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.0255 | ขาย |
ซื้อ:3 ขาย:4 ถือหุ้นไว้:2 สรุป:ขาย |