เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มมีสเถียรภาพ
เงินเยนของญี่ปุ่นเริ่มมีการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ ในขณะที่ BOJ ยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษแม้จะมีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้นก็ได้มีการปรับ Yield Curve Control (YCC) ให้กว้างขึ้น อีกทั้งยังมีการคาดว่าญี่ปุ่นจะเทขายพันฐบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ เพื่อควบคุมการอ่อนค่าของเยนเพื่อไม่ให้เยนอ่อนค่ารุนแรงเกินไป ซึ่งญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่มีการถือครองพันฐบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก จึงมีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์หลายคนว่าอาจเกิดการเทขายในเร็วๆ นี้อีกอย่างแน่นอน
ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นเหนือ 0.6% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) มีการปรับ YCC ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมีการเพิ่มขึ้น และทาง BOJ ยังมีการคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับ YCC อีกครั้งภายในปีนี้แทนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากหนี้สินต่อ GDP ของญี่ปุ่นถือว่าสูงมากและเศรษฐกิจภายในประเทศอาจจะต้องรับภาระหนักเกินไปหากมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น
อัตสึชิ ทาเคอุจิ ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งญี่ปุ่นในปี 2553-2555 กล่าวว่า “ญี่ปุ่นจะเริ่มการแทรกแซงเมื่อเงินเยนอ่อนค่าเกิน 150 และนี่จะกลายเป็นปัญหาทางการเมืองครั้งใหญ่สำหรับนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ เพราะจะทำให้การนำเข้าสินค้ามีราคาสูงมากเกินไปและประชาชนย่อมไม่พอใจอย่างแน่นอน รวมถึงการแทรกแซงค่าเงินไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนสำหรับการอ่อนค่าของเงินเยน แต่สามารถทำได้แค่ซื้อเวลาได้เท่านั้น”
PMI ภาคการบริการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีกครั้งที่ 54.3 ในเดือนสิงหาคม จาก 53.8 ในเดือนกรกฎาคม นับเป็นการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยได้แรงหนุนจากธุรกิจใหม่ของต่างประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะเริ่มหดตัวลดลงแล้วก็ตาม ขณะเดียวกันการจ้างงานก็ปรับตัวเพิ่่มขึ้นหลังจากหดตัวเล็กน้อยในเดือนก่อน ทั้งนี้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม
PMI ภาคการผลิตมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 49.7 ในเดือนสิงหาคม จาก 49.6 ในเดือนกรกฎาคม ตัวเลขที่ได้ประกาศนี้สามารถบอกได้ว่ากิจกรรมโรงงานหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ทั้งผลผลิต รวมถึงยอดขายส่งออกก็มีการลดลงเช่นเดียวกัน ในขณะที่การจ้างงานไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นมากนัก การที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้ราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบสามเดือน สวนทางกลับอัตราเงินเฟ้อของราคาผลผลิตลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 145.79, 145.88, 146.01
แนวรับสำคัญ: 145.57, 145.44, 145.35
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 23 สิงหาคม 2566 16:53 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 145.35 | 145.44 | 145.57 | 145.66 | 145.79 | 145.88 | 146.01 |
Fibonacci | 145.44 | 145.52 | 145.58 | 145.66 | 145.74 | 145.80 | 145.88 |
Camarilla | 145.63 | 145.65 | 145.67 | 145.66 | 145.71 | 145.73 | 145.75 |
Woodie's | 145.37 | 145.45 | 145.59 | 145.67 | 145.81 | 145.89 | 146.03 |
DeMark's | - | - | 145.61 | 145.68 | 145.83 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 145.79 - 145.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.01 และ SL ที่ประมาณ 145.44 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 145.79 - 145.88 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 145.79 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.44 และ SL ที่ประมาณ 146.01 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 145.44 - 145.57 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.35 และ SL ที่ประมาณ 145.88 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 23 สิงหาคม 2566 16:53 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 46.239 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 40.287 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 0.000 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.120 | ซื้อ |
ADX(14) | 28.233 | ขาย |
Williams %R | -67.230 | ขาย |
CCI(14) | -67.5087 | ขาย |
ATR(14) | 0.3939 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.1382 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 45.515 | ขาย |
ROC | 0.234 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.5150 | ขาย |
ซื้อ:2 ขาย:7 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ขายทันที |