ออสเตรเลียต้องเจอกับความท้าทายในอนาคต
ดอลลาร์ออสเตรเลียกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งและมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงได้อีก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีการหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ออสเตรเลียที่เน้นการส่งออกเป็นหลักได้รับผลกระทบตามไปด้วยและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจภายในประเทศ รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจที่ได้ประกาศออกมาของสหรัฐฯ ทำให้มีการกดดันค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียให้อ่อนค่าลงมากกว่าเดิม
นายลีเวลลิน-สมิธแห่ง MB Super และ Nucleus Wealth กล่าวถึงผลกระทบของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีนต่ออนาคตของออสเตรเลียว่า “ขณะนี้จีนได้มาถึงจุดต่ำสุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจขนาดมหึมาแล้ว ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นจุดอ่อนสำคัญและส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียด้วยและในตอนนี้ถือว่าเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับออสเตรเลีย”
PMI ภาคการผลิตของออสเตรเลียลดลงเหลือ 49.4 ในเดือนสิงหาคม จาก 48.6 ในเดือนก่อนหน้า ถือว่าภาคการผลิตหดตัวเป็นเดือนที่ 6 เนื่องจากการถดถอยของสภาพธุรกิจที่ทำลังเกิดขึ้นส่งผลให้คำสั่งซื้อใหม่น้อยลงและส่งผลให้การผลิตหดตัวลงด้วย ทั้งนี้การจ้างงานภาคการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันจากต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น โดยระดับความเชื่อมั่นทางธุรกิจของผู้ผลิตในออสเตรเลียยังคงอยู่ในระดับที่สูงอยู่นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
PMI ภาคการบริการลดลงเหลือ 46.7 ในเดือนสิงหาคม จาก 47.9 ในเดือนก่อนหน้า สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 การหดตัวในครั้งนี้มาจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจที่หดตัวลงส่งผลให้การใช้บริการลดลงด้วย ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของราคาขายลดลงด้วยจากการแข่งขันที่ลดลง ในการสำรวจครั้งล่าสุด บริษัทต่างๆ มีทัศนคติเชิงบวกต่อสภาพเศรษฐกิจในตอนนี้และต้องการให้มีการจ้างพนักงานเพิ่มด้วย
มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของออสเตรเลียจะเติบโตช้าลงในอีก 40 ปีข้างหน้า เนื่องจากจำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มมากขึ้นซึ่งสวนทางกับอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลงทำให้จำนวนแรงงานหดตัว ซึ่งจะส่งผลต่อ GDP คาดว่าจะเติบโตเพียง 2.2% ต่อปีในช่วง 40 ปีข้างหน้าจนถึงปีประมาณ 2063 ซึ่งช้ากว่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาที่มีการเติบโตที่มากกว่าที่ 3.1%
เหรัญญิก จิม ชาลเมอร์ส กล่าวว่า “เศรษฐกิจของเรายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตของเราขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการฟื้นฟูการเติบโตของผลผลิต การบริการที่จำเป็นต้อคุณภาพสูงขึ้นและในอนาคตข้างหน้าควรจะมีการรับประกันว่าเรามีสถานะด้านงบประมาณที่ยั่งยืนไว้ใช้รับเมื่อกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก”
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5573, 1.5593, 1.5629
แนวรับสำคัญ: 1.5517, 1.5481, 1.5461
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 23 สิงหาคม 2566 19:16 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 1.5461 | 1.5481 | 1.5517 | 1.5537 | 1.5573 | 1.5593 | 1.5629 |
Fibonacci | 1.5481 | 1.5502 | 1.5516 | 1.5537 | 1.5558 | 1.5572 | 1.5593 |
Camarilla | 1.5539 | 1.5544 | 1.5549 | 1.5537 | 1.5559 | 1.5564 | 1.5570 |
Woodie's | 1.5469 | 1.5485 | 1.5525 | 1.5541 | 1.5581 | 1.5597 | 1.5637 |
DeMark's | - | - | 1.5528 | 1.5542 | 1.5584 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5573 - 1.5593 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5629 และ SL ที่ประมาณ 1.5481 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5573 - 1.5593 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5573 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5481 และ SL ที่ประมาณ 1.5629 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5481 - 1.5517 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5461 และ SL ที่ประมาณ 1.5593 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 23 สิงหาคม 2566 19:16 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 53.295 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 39.257 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 52.388 | ถือหุ้นไว้ |
MACD(12,26) | 0.002 | ซื้อ |
ADX(14) | 38.728 | ขาย |
Williams %R | -43.194 | ซื้อ |
CCI(14) | -31.3108 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0059 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 50.767 | ถือหุ้นไว้ |
ROC | -0.069 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0006 | ขาย |
ซื้อ:2 ขาย:4 ถือหุ้นไว้:5 สรุป:ขาย |