ยูโรโซนยังได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้ออย่างหนักหน่วง
เงินยูโรกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน หลังจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางธุรกิจของเยอรมนีและยูโรโซนต่ำกว่าที่คาดไว้ในเดือนสิงหาคม โดยการหดตัวของเยอรมนีเป็นการหดตัวที่สูงที่สุดในรอบกว่า 3 ปี ซึ่งทำให้เหล่านักลงทุนมีการจับตาการพูดสุนทรพจน์จากทั้งประธานของธนาคารกลางยุโรป (ECB) คริสติน ลาการ์ด และหัวหน้าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เจอโรม พาวเวลล์ ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ว่ามีความคิดเห็นต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและสถานการณ์ในอนาคตอย่างไร
PMI ภาคการบริการลดลงเหลือ 48.3 ในเดือนสิงหาคม จาก 50.9 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการหดตัวอีกครั้งตั้งแต่สิ้นปี 2565 ซึ่งเกิดจากการถดถอยรุนแรงที่สุดในเยอรมนี ทำให้การจ้างงานมีการลดลงด้วย ทางด้าน PMI ภาคการผลิตปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 43.7 จาก 42.7 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 42.6 แต่แนวโน้มที่เกิดขึ้นก็ยังอยู่ในช่วงขาลง โดยคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ส่งผลให้การผลิตมีการลดลงด้วย โดยการจ้างงานมีการลดลงเล็กน้อย ในขณะที่โรงงานยังคงลดสินค้าคงคลังลงต่อเนื่อง
Niels Christensen หัวหน้านักวิเคราะห์ของ Nordea กล่าวว่า "กิจกรรมภาคการบริการที่ลดลงถือเป็นการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน และเราได้เห็นสภาพแวดล้อมของเงินยูโรที่อ่อนตัวลง หากข้อมูลเงินเฟ้อยังคงชะลอตัว มีความเป็นไปได้สูงมากที่ ECB จะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยที่เข้มงวดขึ้นในเดือนกันยายน ทางด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจชะลอตัวเล็กน้อยแต่ยังคงยืนหยัดได้ดีกว่ายุโรปมากและนั่นอาจทำให้เงินดอลลาร์มีความได้เปรียบในจุดดนี้”
ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แสดงให้เห็นว่ายังคงแข็งแกร่งอย่างอยู่ ได้ช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ FED จะคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่ไว้ใด้นานขึ้น ด้านยูโรโซนก็มีการคาดการณ์ว่า ECB จะหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วเช่นกัน
ความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีการเทขายพันฐบัตรรัฐบาลกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาลของยูโรโซนอายุ 1 ปีกับอายุ 10 ปี มีผลตอบแทนที่ 3.57% กับ 3.44% ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับทางสหรัฐฯ ที่ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 5.39% กับ 4.19% ยังถือว่ามีส่วนต่างด้านผลตอบแทนอยู่อีกมาก ผลตอบแทนที่ห่างกันมากเกินไปก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงอีกในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9219, 0.9228, 0.9241
แนวรับสำคัญ: 0.9198, 0.9184, 0.9176
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 24 สิงหาคม 2566 16:12 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9176 | 0.9184 | 0.9198 | 0.9206 | 0.9219 | 0.9228 | 0.9241 |
Fibonacci | 0.9184 | 0.9192 | 0.9198 | 0.9206 | 0.9214 | 0.9220 | 0.9228 |
Camarilla | 0.9205 | 0.9207 | 0.9209 | 0.9206 | 0.9213 | 0.9215 | 0.9217 |
Woodie's | 0.9178 | 0.9185 | 0.9200 | 0.9207 | 0.9221 | 0.9229 | 0.9243 |
DeMark's | - | - | 0.9202 | 0.9208 | 0.9223 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9219 - 0.9228 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9241 และ SL ที่ประมาณ 0.9184 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9219 - 0.9228 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9219 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9184 และ SL ที่ประมาณ 0.9241 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9184 - 0.9198 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9176 และ SL ที่ประมาณ 0.9228 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 24 สิงหาคม 2566 16:12 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 53.410 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 50.881 | ถือหุ้นไว้ |
STOCHRSI(14) | 26.389 | ขาย |
MACD(12,26) | 0.001 | ซื้อ |
ADX(14) | 17.229 | ถือหุ้นไว้ |
Williams %R | -47.512 | ถือหุ้นไว้ |
CCI(14) | 29.7517 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0024 | ผันผวนสูง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 52.719 | ซื้อ |
ROC | 0.228 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.0004 | ขาย |
ซื้อ:3 ขาย:2 ถือหุ้นไว้:6 สรุป:ซื้อ |