บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 25 สิงหาคม 2566

บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 25 สิงหาคม 2566
Create at 1 year ago (Aug 25, 2023 09:50)

อัตราเงินเฟ้อออสเตรเลียยังคงสูง ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าก่อนคำแถลงจากเฟด

แม้ในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา ออสเตรเลียได้เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุดในรอบสามสิบปี อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะไม่เกิดขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียจะถึงจุดสูงสุดที่เกือบ 8% เมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายต่อหลายครั้งรวม 400 จุดพื้นฐานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ก็ได้มีส่วนช่วยลดอัตราเงินเฟ้อลงเหลือ 6% แม้ว่าจะยังคงอยู่ในอัตราสูงถึงสองเท่าของอัตราเป้าหมายของธนาคารกลางออสเตรเลียที่ 2% ถึง 3% แต่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจล่าสุด ได้ส่งผลให้มีการพักใช้มาตรการที่เข้มงวดชั่วคราว

ทั้งนี้ ธนาคารรายใหญ่ของออสเตรเลีย รวมถึง NAB รายงานว่าพบยอดหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยมีสาเหตุหลักมาจากอัตราการว่างงานที่ยังคงต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยการกลับมาของจำนวนผู้อพยพสู่ระดับก่อนโควิด-19 ยังส่งผลให้เกิดการขาดแคลนที่อยู่อาศัย และหนุนราคาอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ดี รายงานอย่างเป็นทางการของรัฐบาลคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในออสเตรเลียจะชะลอตัวลง อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรสูงวัย งบประมาณที่ตึงตัว และหนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้น โดยรายงานได้กล่าวถึงผลกระทบของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานทดแทน และการดูแลผู้สูงอายุ ที่จะมีต่อเศรษฐกิจในอีก 40 ปีข้างหน้า ในขณะที่เป้าหมายปัจจุบันอยู่ที่การจัดการกับวิกฤตค่าครองชีพ โดยไม่ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งความท้าทายในอนาคตเกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์ไปสู่การพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานแบบแยกส่วน (Fragmentation)

โดยการใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.8 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ภายในปี 2566 โดยงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุอาจเพิ่มขึ้น 40% และอาจนำไปสู่การขาดดุลงบประมาณหลังมีการเกินดุลเมื่อเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแรงกดดันทางการคลัง แต่รายงานก็ไม่ได้ให้รายละเอียดถึงการปฏิรูปภาษีที่อาจเกิดขึ้น ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าอัตราภาษีจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากรูปแบบการบริโภคและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง

ทางด้านตลาดเงิน ความคาดหวังของคำแถลงจากประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ที่การประชุม Jackson Hole Economic Policy Symposium ได้ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นทั่วทั้งตลาด นักลงทุนต่างกระตือรือร้นที่จะทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและแผนการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงต่อไป

ทั้งนี้ แม้จะมีความคาดหวังว่าตลาดแรงงานจะชะลอตัวลงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่กลับลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน ซึ่งความแข็งแกร่งดังกล่าวที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดนี้ ประกอบกับการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อ ได้กระตุ้นให้เกิดมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้

ในภาคการผลิต คำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าทุนที่ผลิตในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย บ่งชี้ถึงการเติบโตที่อาจเกิดขึ้นในการใช้จ่ายทางธุรกิจในด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยแม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ พบว่าขยายตัวเกินความคาดหมายที่อัตรา 2.4% ต่อปีในไตรมาสที่สอง ส่งผลให้นักวิเคราะห์ปรับประมาณการการเติบโตของ GDP สูงขึ้น จากปัจจัยของการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อและตลาดงานที่แข็งแกร่ง

ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้จากทั้งทางฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งอ่อนตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงส่งผลให้นักลงทุนหันมานิยมสกุลเงินที่ปลอดภัย อย่าง ดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้ความต้องการสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงลดลง จึงคาดว่าจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบ ไปจนถึงแข็งค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อยู่บ้างจากการเข้าซื้อหลังย่อตัว

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6425, 0.6430, 0.6436

แนวรับสำคัญ : 0.64130.64080.6402                  

5H Outlook

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: Investing.com                                 

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6400.6413 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6413 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6426 และ SL ที่ประมาณ 0.6398 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6425 - 0.6435 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6443 และ SL ที่ประมาณ 0.6408 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6425 - 0.6435 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6425 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6409 และ SL ที่ประมาณ 0.6440 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6400.6413 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6392 และ SL ที่ประมาณ 0.6430 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Aug 25, 2023 09:37AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 0.6392 0.6402 0.6409 0.6419 0.6426 0.6436 0.6443
Fibonacci 0.6402 0.6408 0.6413 0.6419 0.6425 0.6430 0.6436
Camarilla 0.6411 0.6413 0.6414 0.6419 0.6418 0.6419 0.6421
Woodie's 0.6390 0.6401 0.6407 0.6418 0.6424 0.6435 0.6441
DeMark's - - 0.6406 0.6417 0.6422 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES