บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย วันที่ 28 สิงหาคม 2566

บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย วันที่ 28 สิงหาคม 2566
Create at 1 year ago (Aug 28, 2023 09:58)

หุ้นเอเชียพุ่งขึ้นหลังมาตรการจากจีน ท่ามกลางความระมัดระวังก่อนการเผยแพร่ข้อมูลสหรัฐฯ

หุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ หลังจากจีนประกาศมาตรการใหม่เพื่อสนับสนุนตลาด แม้ว่าจะยังคงความระมัดระวังเนื่องจากข้อมูลการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางของอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่จีนตัดสินใจลดอากรแสตมป์ในการซื้อขายหุ้นเพื่อหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ท่ามกลางผลกำไรภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง 6.7% ในเดือนกรกฎาคม โดยหุ้นบลูชิปของจีนร่วงลง 2% ในสัปดาห์ก่อนและแตะจุดต่ำสุดในรอบปี ส่งผลให้นักลงทุนจับตามองการรายงานข้อมูล PMI เดือนสิงหาคมมากยิ่งขึ้น

ทางด้าน China Evergrande Group ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระหนี้มากที่สุดในโลก รายงานผลขาดทุนสุทธิที่ลดน้อยลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยความท้าทายทางการเงินของ Evergrande เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือการผิดนัดชำระหนี้ โครงการก่อสร้างที่ยังไม่แล้วเสร็จ และความกังวลของผู้บริโภค ในขณะที่ ท่ามกลางความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง การผิดนัดการจ่ายคูปองตราสารสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ โดย Country Garden ผู้พัฒนาเอกชนรายใหญ่ที่สุดของจีน ได้ส่งสัญญาณเตือน และขยายความตึงเครียดให้กับเศรษฐกิจจีนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่อ่อนแอ และการว่างงานที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ในความพยายามที่จะทำให้อัตราการจำนองมีราคาไม่สูงจนเกินไป และช่วยกระตุ้นความต้องการด้านอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์จีนคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก โดยการเคลื่อนไหวครั้งนี้จะช่วยให้ธนาคารต่างๆ มีความยืดหยุ่นในการลดอัตราการจำนองและเพิ่มความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน หุ้นเอเชียแปซิฟิกนอกญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.2% ส่งสัญญาณการฟื้นตัวหลังจากลดลงสามสัปดาห์ โดยท่าทีนโยบายจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ ไม่ได้ส่งผลเชิงลบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าพาวเวลล์จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ยังคงเน้นย้ำถึงการดำเนินแนวทางอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงทิศทางข้อมูลและเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ความน่าจะเป็นที่จะมีการคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 20 กันยายนอยู่ที่ประมาณ 80% โดยมีความน่าจะเป็น 54% ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสิ้นปี ในขณะที่ทิศทางของตลาดขึ้นอยู่กับกระแสข้อมูลของสหรัฐฯ ซึ่งความร้อนแรงของดัชนีชี้วัดที่แข็งแกร่งผ่อนคลายลงจากผลการสำรวจภาคการผลิตล่าสุดที่ชี้ถึงการชะลอตัว

ทางด้านนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น คงทิศทางนโยบายที่ต่างจากสถานการณ์ทั่วโลก โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษานโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นจะเกิน 2% มาเป็นเวลา 16 เดือนติดต่อกัน ท่ามกลางอิทธิพลของแรงกดดันด้านต้นทุน โดยตระหนักถึงการคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลง

ขณะเดียวกัน อินเดียเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อราคาอาหารที่สูงขึ้นเนื่องจากปริมาณฝนที่ไม่แน่นอน ส่งผลให้รัฐบาลพยายามหาแนวทางแก้ไขเพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อค้าปลีกประจำปีอยู่ที่ 7.44% ในเดือนกรกฎาคม และเงินเฟ้อราคาอาหารอยู่ที่ 11.5% กระตุ้นความเร่งด่วนในการออกมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงแรงปะทะก่อนการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ในขณะที่รัฐบาลได้พิจารณาขยายโครงการอาหารฟรีสำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยเพื่อบรรเทาความยากลำบาก

ทั้งนี้ ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจเอเชียประจำสัปดาห์นี้ จะประกอบไปด้วยรายงาน PMI จากประเทศต่างๆ รวมถึงจีน ที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม ข้อมูล GDP ของอินเดีย และตัวเลขเงินเฟ้อจากอินโดนีเซียและเวียดนาม ในขณะที่ PMI ภาคบริการและภาคการผลิตของจีนจะถูกจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากนักลงทุนและธนาคารกลางมองหาสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ยังคงอ่อนแอ จึงอาจส่งผลให้แนวโน้มตลาดหุ้นเอเชียโดยรวมยังคงถูกกดดันอยู่บ้าง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่อาจส่งสัญญาณหดตัวมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นคาดว่าจะสามารถทรงตัวในกรอบขาขึ้น ไปจนถึงปรับตัวลดลงเล็กน้อย

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD JP225 Nikkei 225 Futures - Sep 23

แนวต้านสำคัญ : 32134.3, 32195.7, 32295.0

แนวรับสำคัญ : 31935.7, 31874.3, 31775.0              

5H Outlook

วิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย ที่มา: Investing.com                                                

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 31810.7 - 31935.7 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 31935.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32207.5 และ SL ที่ประมาณ 31750.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 32134.3 - 32259.3 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32295.0 และ SL ที่ประมาณ 31875.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 32134.3 - 32259.3 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 32134.3 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 31947.5 และ SL ที่ประมาณ 32319.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 31810.7 - 31935.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 31775.0 และ SL ที่ประมาณ 32194.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Aug 28, 2023 09:44AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 31687.5 31775.0 31947.5 32035.0 32207.5 32295.0 32467.5
Fibonacci 31775.0 31874.3 31935.7 32035.0 32134.3 32195.7 32295.0
Camarilla 32048.5 32072.3 32096.2 32035.0 32143.8 32167.7 32191.5
Woodie's 31729.9 31796.2 31989.9 32056.2 32249.9 32316.2 32509.9
DeMark's - - 31991.2 32056.9 32251.2 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES