ยูโรโซนต้องเจอกับความท้าทายจากเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอ
เงินยูโรได้อ่อนค่าลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยการอ่อนค่าในครั้งนี้ได้แรงกดดัน จากความคาดหวังของนักลงทุนว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 กันยายน เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ตกต่ำของธุรกิจและการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อในหลายเดือนที่ผ่านมา
Philip Lane หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ECB ให้การยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อของสินค้าและบริการอยู่ในระดับปานกลาง และเขาคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) จะชะลอตัวลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ประธาน ECB Christine Lagarde ไม่ได้มีการบอกอย่างชัดเจนว่า ECB มีความตั้งใจที่จะขึ้นหรือคงอัตราดอกเบี้ย
ด้านความคาดหวังของอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรในอีก 12 เดือนข้างหน้ายังคงอยู่ที่ 3.4% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำหลังจากที่ไม่ได้เห็นมานาน ในขณะเดียวกัน การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 3 ปีข้างหน้ากลับมีการเพิ่มขึ้นเป็น 2.4% จาก 2.3% นอกจากนี้การสำรวจของ ECB แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคคาดว่ารายได้ช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะเพิ่มขึ้น 1.1% และส่วนของค่าใช้จ่ายจะคงที่ที่ 3.4%
อัตราการว่างงานในเขตยูโรอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งที่ 6.4% ซึ่งตรงกับการคาดการณ์ของตลาด โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 73,000 คนจากเดือนก่อนหน้าเป็น 10.944 ล้านคน ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานของเยาวชนซึ่งวัดจากผู้หางานอายุต่ำกว่า 25 ปี ทรงตัวที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 13.8% ซึ่งอัตราว่างงานที่ต่ำที่สุดอยู่ในเยอรมนีในขณะที่อัตราการว่างงานสูงสุดพบในสเปน
การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 6.86 ล้านล้านยูโรในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 เนื่องจากความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัวลง เนื่องจากนโยบายที่เข้มงวดขึ้นตั้งแต่ต้นปี รวมถึงการปล่อยสินเชื่อให้บริษัทเองก็มีการเติบโตที่ชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน
Cyrus de la Rubia หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารฮัมบูร์กคอมเมอร์เชียล กล่าวว่า“ยูโรโซนไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงแรกของปี แต่ครึ่งปีหลังจะต้องเผชิญกับความท้าทายที่ใหญ่กว่าแน่นอน ซึ่งจะนำมาสู่การลดตำแหน่งงานและกำลังการผลิตในไม่ช้า รวมไปถึงการปรับลด GDP ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ -0.1% ในไตรมาสที่สาม”
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9326, 0.9340, 0.9347
แนวรับสำคัญ: 0.9304, 0.9298, 0.9283
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 6 กันยายน 2566 15:10 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9283 | 0.9298 | 0.9304 | 0.9319 | 0.9326 | 0.9340 | 0.9347 |
Fibonacci | 0.9298 | 0.9306 | 0.9311 | 0.9319 | 0.9327 | 0.9332 | 0.9340 |
Camarilla | 0.9306 | 0.9308 | 0.9310 | 0.9319 | 0.9314 | 0.9316 | 0.9318 |
Woodie's | 0.9279 | 0.9296 | 0.9300 | 0.9317 | 0.9322 | 0.9338 | 0.9343 |
DeMark's | - | - | 0.9301 | 0.9317 | 0.9323 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9326 - 0.9340 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9347 และ SL ที่ประมาณ 0.9298 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9326 - 0.9340 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9326 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9298 และ SL ที่ประมาณ 0.9347 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9298 - 0.9304 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9283 และ SL ที่ประมาณ 0.9340 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 6 กันยายน 2566 15:10 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 63.613 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 78.012 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 37.337 | ขาย |
MACD(12,26) | 0.002 | ซื้อ |
ADX(14) | 44.702 | ซื้อ |
Williams %R | -29.256 | ซื้อ |
CCI(14) | 84.6194 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0019 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0015 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 61.219 | ซื้อ |
ROC | 0.473 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0050 | ซื้อ |
ซื้อ:10 ขาย:1 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |