AUD แตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน คาดอาจฟื้นตัวจากอัตราดอกเบี้ย RBA และแรงกระตุ้นจากจีน
ล่าสุด เงินดอลลาร์ออสเตรเลียแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น ในขณะที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายรายถือสัญญาสถานะขายดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นประวัติการณ์ที่ 94,107 สัญญา
อย่างไรก็ตาม พบแนวโน้มเชิงบวกที่อาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียอาจดีดตัวขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยขึ้นอยู่กับความพยายามของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจและความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนธันวาคม
โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่าตลาดในปัจจุบันประเมินโอกาสในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้ายของ RBA ต่ำเกินไป ซึ่งหากเป้าหมายการเติบโตของจีนที่ 5% อาจเป็นไปได้ยาก ทางการจีนอาจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง และอาจเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความเสี่ยงและเป็นประโยชน์ต่อเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ออสเตรเลียอาจเผชิญกับแรงกดดันครั้งใหม่ได้ หากข้อมูลในวันที่ 14 กันยายน แสดงให้เห็นว่าอัตราการว่างงานของประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ ตลาดแรงงานที่อ่อนตัวลงอาจทำให้นักลงทุนพิจารณาถึงความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจาก RBA อีกครั้ง
ทางด้านธนาคารกลางออสเตรเลีย ล่าสุดตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย (OCR) ไว้ที่ 4.10% โดยผู้ว่าการ RBA Philip Lowe กล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้ จะช่วยให้ธนาคารกลางมีเวลามากขึ้นในการประเมินผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของค่าจ้างและผลกำไรที่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อในการกลับสู่กรอบเป้าหมายภายในปลายปี 2568
ในขณะเดียวกัน ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของออสเตรเลียสำหรับไตรมาสที่สองของปี 2566 เกินความคาดหมาย โดยเพิ่มขึ้น 0.4% และการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 2.1% อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่ซบเซาและภาวะเงินฝืดในจีนก็ได้ส่งผลกระทบต่อดุลการค้าและการส่งออกของออสเตรเลีย โดยเฉพาะในสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ ในขณะที่การบริโภคภาคครัวเรือนยังคงอ่อนแอเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเศรษฐกิจออสเตรเลีย เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด โดยความอ่อนแอในตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิตของจีนได้ส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียอย่างเลี่ยงไม่ได้
โดยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จุดสนใจของตลาดจะอยู่ที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งการสำรวจความคาดหวังเงินเฟ้อของผู้บริโภคคาดว่าจะลดลงเล็กน้อยในเดือนสิงหาคม ซึ่งการอ่อนตัวลงอย่างมีนัยสำคัญคาดว่าจะท้าทายความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อไป ในขณะที่รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ที่จะถูกจับตามองเป็นพิเศษ จะเปิดเผยในวันพุธนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อประจำปีของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นจาก 3.2% เป็น 3.6% ในเดือนสิงหาคม
ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเป็นสัปดาห์ที่แปดติดต่อกัน โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมเดือนกันยายน โดยพบความเป็นไปได้ 93% ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ และ 43.5% ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพฤศจิกายน ตามรายงานของ CME FedWatch Tool
ทั้งนี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับการเปิดเผยข้อมูลในสัปดาห์นี้ เช่น ดัชนีราคาผู้ผลิตและยอดขายปลีก เพื่อประเมินทิศทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในอนาคต และจะให้ความสนใจกับข้อมูลเศรษฐกิจจากประเทศจีน รวมถึงตัวชี้วัดต่างๆ เช่น ยอดขายรถยนต์และสินเชื่อเงินหยวนใหม่ ในขณะที่ ภายในออสเตรเลีย ตัวเลขการจ้างงานจะถูกเปิดเผยในวันพฤหัสบดี และข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการขายปลีกของจีนที่จะเผยแพร่ในวันศุกร์ คาดว่าจะส่งผลเพิ่มเติมต่อแนวโน้มการซื้อขาย AUD/USD
โดยสรุป แม้ว่าฉากหลังทางเศรษฐกิจเชิงบวกอาจช่วยหนุนเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้ แต่ความแตกต่างทางด้านนโยบายเศรษฐกิจและการเงินยังคงสนับสนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักในสัปดาห์นี้จะอยู่ที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งอาจเสริมความแข็งแกร่งหรือชดเชยผลกระทบของราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนที่อาจเกิดขึ้นอาจมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้ จึงอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวขึ้นลงในกรอบหรือปรับฐานขึ้นสูงได้เล็กน้อย ในขณะที่แนวโน้มระยะสั้นในช่วงนี้จะยังคงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อยู่
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6418, 0.6422, 0.6428
แนวรับสำคัญ : 0.6406, 0.6402, 0.6396
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6421 และ SL ที่ประมาณ 0.6391 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6423 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6430 และ SL ที่ประมาณ 0.6401 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6423 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6418 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6405 และ SL ที่ประมาณ 0.6428 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6390 และ SL ที่ประมาณ 0.6423 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Sep 11, 2023 10:55AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6389 | 0.6396 | 0.6405 | 0.6412 | 0.6421 | 0.6428 | 0.6437 |
Fibonacci | 0.6396 | 0.6402 | 0.6406 | 0.6412 | 0.6418 | 0.6422 | 0.6428 |
Camarilla | 0.6411 | 0.6412 | 0.6414 | 0.6412 | 0.6416 | 0.6418 | 0.6419 |
Woodie's | 0.6391 | 0.6397 | 0.6407 | 0.6413 | 0.6423 | 0.6429 | 0.6439 |
DeMark's | - | - | 0.6409 | 0.6414 | 0.6425 | - | - |
Sources: Investing , Yahoo Finance