ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีความคิดเห็นของผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) คาซูโอะ อูเอดะ โดยมีการบอกว่า BOJ อาจมีการพิจารณาที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้หากมีข้อมูลที่เพียงพอและยังกล่าวไว้อีกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ 2% ส่งผลให้ธนาคารเริ่มพิจารณานโยบายที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการเติบโตของค่าจ้างก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ทั้งนี้ ได้มีความคิดเห็นจากเหล่านักวิเคราะห์แย้งว่าคำแถลงของ คาซูโอะ อูเอดะ ดูไม่ได้มุ่งมั่นที่จะทำนโยบายนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทำให้เงินเยนมีการอ่อนค่าลงอีกครั้ง ท่ามกลางส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นกับสหรัฐฯ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐได้ใช้นโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น ในขณะที่ BOJ ยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายอยู่ ในขณะเดียวกัน ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าราคาผู้ผลิตในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 29 เดือนและชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในเดือนสิงหาคม
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการเติบโต 4.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) และ 1.2% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส (QoQ) ในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ซึ่งน้อยกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อยที่ 1.3% ถึงอย่างนั้น นี่ถือว่าเป็นการเติบโต 2 ไตรมาสติดต่อกันหลังจากไตรมาสแรกมีการเติบโตที่ 0.9% โดยในครั้งนี้ได้แรงหนุนจากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากอย่างมากและถือว่าเป็นตัวเลขส่งออกที่ดีที่สุดในรอบ 2 ปี ในขณะที่การนำเข้าลดลง 3 ไตรมาสติดต่อกัน แต่ในระยะยาวหากการนำเข้ายังคงลดลงต่อเนื่องจะส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการชะลอตัวขึ้น
ทุนสินทรัพย์สำรองในญี่ปุ่นลดลงเล็กน้อยเป็น 1.251 ล้านล้านดอลลาร์ ในเดือนที่ผ่านมา โดยมีข้อมูลอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่าทางการญี่ปุ่นใช้เงินไปถึง 6.35 ล้านล้านเยน ในการดำเนินการแทรกแซงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อพยุงค่าเงินเยนในปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้ดำเนินการแทรกแซงค่าเงินเพิ่ม แต่การอ่อนค่าของเยนทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการแทรกแซงค่าเงินอีกครั้ง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีมีการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วที่ 0.7% โดยเป็นจุดสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี แม้ว่าจะมีข่าวสนับสนุนที่ทำให้อัตราผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับทางด้านสหรัฐฯ ผลตอบแทนที่ได้ยังถือว่าห่างกันพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นอายุกี่ปี่ก็ตาม ดังนั้นนี่จึงเ็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สหรัฐฯ ยังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าลงทุนมากกว่าและทำให้เงินจำนวนมหาศาลไหลออกจากประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 147.39, 147.51, 147.60
แนวรับสำคัญ: 147.17, 147.09, 146.96
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 13 กันยายน 2566 16:40 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 146.96 | 147.09 | 147.17 | 147.30 | 147.39 | 147.51 | 147.60 |
Fibonacci | 147.09 | 147.17 | 147.22 | 147.30 | 147.38 | 147.43 | 147.51 |
Camarilla | 147.21 | 147.23 | 147.25 | 147.30 | 147.28 | 147.30 | 147.32 |
Woodie's | 146.94 | 147.08 | 147.15 | 147.29 | 147.37 | 147.50 | 147.58 |
DeMark's | - | - | 147.13 | 147.28 | 147.35 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 147.39 - 146.96 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.60 และ SL ที่ประมาณ 147.09 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 147.39 - 147.51 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 147.39 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.09 และ SL ที่ประมาณ 147.60 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 147.09 - 147.17 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.96 และ SL ที่ประมาณ 147.51 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 13 กันยายน 2566 16:40 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 54.764 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 80.256 | ซื้อมากเกินไป |
STOCHRSI(14) | 64.089 | ซื้อ |
MACD(12,26) | 0.120 | ซื้อ |
ADX(14) | 34.078 | ซื้อ |
Williams %R | -28.426 | ซื้อ |
CCI(14) | 70.1111 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.5086 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.1529 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 62.906 | ซื้อ |
ROC | -0.281 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | 0.3670 | ซื้อ |
ซื้อ:8 ขาย:1 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ซื้อทันที |