เศรษฐกิจของยูโรโซนอยู่ในช่วงอ่อนแอและอาจเกิดเศรษฐกิจถดถอยได้
เงินยูโรกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง เนื่องจากนักลงทุนยังคงไม่มั้นใจถึงผลการประชุมในเดือนนี้และจับตาดูผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมีรายงานของรอยเตอร์ระบุไว้ว่า ECB คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงกว่า 3% ในปีหน้า ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในสัปดาห์นี้ แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซนที่ได้ประกาศไปในช่วงที่ผ่านมายังมีสัญญาณถึงความอ่อนแออยู่ก็ตาม
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ได้มีการคาดการณ์ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 25 bps โดยมีความเป็นไปได้ถึง 75% เนื่องจากคณะกรรมาธิการยุโรปได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของยูโรโซนโดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 0.8% ในปีนี้ และ 1.3% ในปีถัดไป และได้มีคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ว่าจะอยู่ที่ 5.6% แต่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีหน้ามีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.9% จาก 2.8%
GDP ของยูโรโซนมีการเติบโตขึ้นเล็กน้อย 0.1% ในไตรมาสที่ 2 โดยพบว่ารายจ่ายของภาครัฐและการนำเข้ามีการเพิ่มสูงขึ้นตรงข้ามกับการส่งออกที่ลดลง โดยการส่งออกกินส่วนแบ่งเกินไปกว่า 50% ของ GDP นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซนเกิดการหยุดชะงักของเศรษฐกิจทำให้ส่งผลกระทบต่อข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างมากและทำให้เกิดข้อสงสัยว่ายูโรโซนจะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้หรือไม่หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น
จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส (QoQ) คิดเป็น 166.7 ล้านคนในช่วงไตรมาสที่ 2 ถือว่ามีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากเกิดการชะลอตัวในไตรมาสแรก ถึงแม้ว่าจำนวนผู้มีงานทำจะมีการเพิ่มขึ้นแต่การเติบโตนี้ยังไม่ถือว่าดีเท่าที่ควร อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงตลาดแรงงานที่ยังตึงตัวไม่มากและพร้อมจะมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลงได้อีกหาก ECB ตัดสินใจที่จะใช้นโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของยูโรโซนอายุ 10 ปี ได้มีการเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ลดลงมาเล็กน้อยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ เองก็มีการปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันหลังจากมีการประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้โดยอัตราเงินเฟ้อมีการเพิ่มขึ้นเป็น 3.7% และทำให้ DXY มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินยูโร
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9324, 0.9331, 0.9340
แนวรับสำคัญ: 0.9309, 0.9299, 0.9293
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 14 กันยายน 2566 10:40 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9293 | 0.9299 | 0.9309 | 0.9315 | 0.9324 | 0.9331 | 0.9340 |
Fibonacci | 0.9299 | 0.9305 | 0.9309 | 0.9315 | 0.9321 | 0.9325 | 0.9331 |
Camarilla | 0.9313 | 0.9314 | 0.9316 | 0.9315 | 0.9319 | 0.9320 | 0.9322 |
Woodie's | 0.9293 | 0.9299 | 0.9309 | 0.9315 | 0.9324 | 0.9331 | 0.9340 |
DeMark's | - | - | 0.9312 | 0.9316 | 0.9327 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9324 - 0.9331 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9340 และ SL ที่ประมาณ 0.9299 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9324 - 0.9331 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9324 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9299 และ SL ที่ประมาณ 0.9340 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9299 - 0.9309 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9293 และ SL ที่ประมาณ 0.9331 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 14 กันยายน 2566 10:40 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 48.932 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 37.299 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 40.895 | ขาย |
MACD(12,26) | 0.000 | ซื้อ |
ADX(14) | 22.140 | ซื้อ |
Williams %R | -62.717 | ขาย |
CCI(14) | -6.4568 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0022 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 42.689 | ขาย |
ROC | -0.129 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | 0.0006 | ซื้อ |
ซื้อ:3 ขาย:5 ถือหุ้นไว้:3 สรุป:ขาย |