การส่งออกของออสเตรเลียยังต้องมีการจับตาดูอย่างใกล้ชิด
ดอลลาร์ออสเตรเลียกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง จากข้อมูลอัตราการว่างงานของออสเตรเลียที่ได้ประกาศมาเมื่อวันที่ผ่านมา ถึงอย่างนั้นข้อมูลนี้ก็ไม่น่าส่งผลให้ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) กลับมาใช้นโยบายที่เข้มงวดอีกครั้ง แม้ว่าเศรษฐกิจของออสเตรเลียจะขยายตัวเกินคาดในไตรมาสที่ 2 แต่ข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึงการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่ากังวลและยังมีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนี้ต่อไป
นอกจากปัจจัยภายในประเทศยังมีปัจจัยจากทางสหรัฐฯ คือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ได้ประกาศไปเมื่อวานและในวันนี้จะมีการประกาศดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยมีการคาดการณ์อยู่ที่ 0.4% จากเดือนที่ผ่านมาที่ 0.3% หากค่า PPI มีการพุ่งสูงมากเกินไปก็จะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อซึ่งอาจกดดันให้ FED มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งและจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดด้วย
การว่างงานของออสเตรเลียอยู่ที่ 3.7% โดยที่ไม่ได้การเปลี่ยนแปลงไปจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งจำนวนผู้ว่างงานลดลง 2.6 พันคนเหลือ 540.5 พันคน โดยมาจากจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาเพิ่มขึ้น 6 พันคนรวมแล้วเป็นจำนวน 358.3 พันคน อีกทั้งยังมีความคาดหวังค่าจ้างว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ ในขณะเดียวกัน ตัวเลขการจ้างงานก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย โดยเพิ่มขึ้น 64.9 พันคนเป็น 14.11 ล้านคน ถึงแม้ว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นแล้วก็ตามแต่ยังคงต่ำกว่าก่อนเกิด Covid 19 อยู่มาก
ได้มีการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคในออสเตรเลียลดลงเหลือ 4.6% จาก 4.9% ในเดือนก่อนหน้า การที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อได้ลดต่ำลงก็จะยิ่งตอกย้ำว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไว้ชั่วคราว นอกจากนี้ ฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการรัฐที่พ้นตำแหน่ง กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่าการคาดการณ์เฟ้อในระยะกลางจะเข้ามาสู่เป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2-3% และมีมุมมองว่าเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของออสเตรเลียมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2 ในเดือนสิงหาคมหลังจากที่ปรับลดลงเป็น 1 ในเดือนก่อนหน้า โดยได้ปัจจัยสนับสนุนมาจากความสามารถในการทำกำไรของบริษัทต่างๆ และการจ้างงานที่มีการเพิ่มขึ้นด้วย ถึงอย่างนั้น ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 3.2% ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาและต้นทุนการจัดซื้อก็มีเพิ่มขึ้นเป็น 2.9%
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5565, 1.5585, 1.5614
แนวรับสำคัญ: 1.5517, 1.5489, 1.5469
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 14 กันยายน 2566 17:08 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 1.5469 | 1.5489 | 1.5517 | 1.5537 | 1.5565 | 1.5585 | 1.5614 |
Fibonacci | 1.5489 | 1.5507 | 1.5519 | 1.5537 | 1.5555 | 1.5567 | 1.5585 |
Camarilla | 1.5532 | 1.5536 | 1.5540 | 1.5537 | 1.5549 | 1.5554 | 1.5558 |
Woodie's | 1.5473 | 1.5491 | 1.5521 | 1.5539 | 1.5569 | 1.5587 | 1.5618 |
DeMark's | - | - | 1.5527 | 1.5542 | 1.5575 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5565 - 1.5585 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5614 และ SL ที่ประมาณ 1.5489 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5565 - 1.5585 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5565 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5489 และ SL ที่ประมาณ 1.5614 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5489 - 1.5517 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5469 และ SL ที่ประมาณ 1.5585 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 14 กันยายน 2566 17:08 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 45.879 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 36.233 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 35.074 | ขาย |
MACD(12,26) | -0.000 | ขาย |
ADX(14) | 24.906 | ถือหุ้นไว้ |
Williams %R | -66.492 | ขาย |
CCI(14) | -50.8729 | ขาย |
ATR(14) | 0.0056 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 43.515 | ขาย |
ROC | 0.045 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.0041 | ขาย |
ซื้อ:1 ขาย:7 ถือหุ้นไว้:3 สรุป:ขายทันที |