ECB ได้ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยหลังจากเปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เนื่องจากทางธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแต่ทางสหรัฐฯ เองก็มีความกังวลว่าทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งเช่นเดียวกัน โดยได้แรงสนับสนุนจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดและข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงดีอยู่จึงยังพอให้มีช่องว่างในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก
ECB ได้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา โดยถือว่าเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 10 ครั้งติดต่อกันและอาจจะมีแนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกหากเงินเฟ้อยังคงทรงตัวอยู่ แต่ทาง ECB ก็ได้มีการพิจารณาแล้วว่าต่อให้ไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่ก็จะคงดอกเบี้ยนี้ไว้จนกว่าเงินเฟ้อจะลดต่ำลงสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ อีกทั้งยังมีการปรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลงเล็กน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.1% ในปี 2566, 2.9% ในปี 2567 และ 2.2% ในปี 2568
จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของ ECB ทำให้อัตราการรีไฟแนนซ์แตะระดับสูงสุดในรอบ 22 ปีที่ 4.5% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 4% ทำให้ผู้คนในยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะฝากเงินในธนาคารมากกว่านำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ราคาอาจจะลดลงได้อีกหากเงินเฟ้อยังสูงอยู่และ ECB ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
ข้อมูลดุลการค้าของยูโรโซนพบว่าเกินดุลการค้าถึง 6.5 พันล้านยูโรในเดือนกรกฎาคม โดยที่การนำเข้าลดลง 18.2% สู่ 221.3 พันล้านยูโร ในขณะที่การส่งออกลดลง 2.7% สู่ 227.8 พันล้านยูโรซึ่งภาคส่วนการนำเข้าที่ลดลงมากที่สุดจะเป็นพลังงานที่ลดลงถึง 28.1% รองลงมาคือสินค้าที่อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ 11.6% ซึ่งการที่ยูโรโซนได้ลดการนำเข้าพลังงานนั้นมาจากการที่ราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นอีกครั้งรวมกับค่าเงินที่อ่อนหากยังมีการนำเข้าสินค้ามากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมาได้ในภายหลัง
การเติบโตของค่าจ้างในยูโรโซนลดลงเล็กน้อยเป็น 4.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา โดยยังคงบอกได้ว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงมีอยู่และเมื่อคิดเป็นรายได้ที่แท้จริงแล้วยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงกว่าการปรับขึ้นค่าจ้างในปัจจุบัน แม้ว่ากิจกรรมหลายอย่างจะซบเซาแต่ก็ยังมีภาคส่วนที่ได้ประโยชน์คือที่พักและอาหารที่ยังคงคึกคักและมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9363, 0.9372, 0.9378
แนวรับสำคัญ: 0.9347, 0.9340, 0.9331
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 19 กันยายน 2566 08:38 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9331 | 0.9340 | 0.9347 | 0.9356 | 0.9363 | 0.9372 | 0.9378 |
Fibonacci | 0.9340 | 0.9346 | 0.9350 | 0.9356 | 0.9362 | 0.9366 | 0.9372 |
Camarilla | 0.9348 | 0.9350 | 0.9351 | 0.9356 | 0.9354 | 0.9355 | 0.9357 |
Woodie's | 0.9329 | 0.9339 | 0.9345 | 0.9355 | 0.9361 | 0.9371 | 0.9376 |
DeMark's | - | - | 0.9343 | 0.9354 | 0.9359 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9363 - 0.9372 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9378 และ SL ที่ประมาณ 0.9340 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9363 - 0.9372 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9363 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9340 และ SL ที่ประมาณ 0.9378 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9340 - 0.9347 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9331 และ SL ที่ประมาณ 0.9372 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 19 กันยายน 2566 08:38 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 52.110 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 38.445 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 10.188 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.001 | ซื้อ |
ADX(14) | 36.404 | ขาย |
Williams %R | -79.881 | ขาย |
CCI(14) | -156.9478 | ขาย |
ATR(14) | 0.0018 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.0009 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 53.955 | ซื้อ |
ROC | -0.210 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0012 | ขาย |
ซื้อ:2 ขาย:7 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ขายทันที |