ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าจากอุปสงค์ในจีนที่ลดลง
เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยเยนอ่อนค่าลงใกล้จุดสูงสุดอีกครั้งนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2022 เนื่องจากความแตกต่างระหว่างนโยบายการเงินในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเริ่มมีความแตกต่างมากยิ่งขึ้น มีการคาดการณ์จากนักลงทุนว่าทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ ในทางกลับกัน ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) คาดการณ์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเอาไว้ที่ -0.1% แต่ก็มีนักลงทุนบางส่วนมองว่า BoJ จะขึ้นอัตราดอกกเบี้ยในการประชุมที่จะถึงนี้
มุมมองของอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังฝ่ายกิจการระหว่างประเทศกล่าวว่า “การผ่อนคลายทางการเงินที่ยืดเยื้ออาจส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงอีก แต่การแทรกแซงค่าเงินอาจไม่เกิดขึ้นเนื่องจากการอ่อนค่าลงของเยนไม่ได้รวดเร็วนักเมื่อเทียบกับครั้งก่อนที่ทางการเข้าแทรกแซงในเดือนกันยายนหรือตุลาคม แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ในกรณีที่เงินเยนอ่อนค่าลงอีก”
ดุลการค้าของญี่ปุ่นลดลงอีกครั้ง โดยการขาดดุลในครั้งนี้คิดเป็น 930.5 พันล้านเยนในเดือนสิงหาคม จาก 2,790.4 พันล้านเยนในเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก การส่งออกลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ท่ามกลางอุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอโดยเฉพาะจากประเทศจีน
การนำเข้าไปยังญี่ปุ่นหดตัวถึง 17.8% YoY คิดเป็น 8,924.82 พันล้านเยนในเดือนสิงหาคม หลังจากที่ลดลง 13.6% ในเดือนกรกฎาคม โดยการนำเข้าพลังงานมีการลดลงมากที่สุดถึง 36.6% ทางด้านการส่งออกจากญี่ปุ่นลดลง 0.8% YoY คิดเป็น 7,994.35 พันล้านเยน นับว่าลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน การส่งออกไปที่สหรัฐฯ พบว่ามีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่การส่งออกไปยังจีนมีการลดลงอย่างมากจากปัญหาเศรษฐิจในประเทศ
เงินเยนอ่อนค่าลงทำให้การส่งออกของญี่ปุ่นก็ได้รับประโยชน์อย่างมาก ซึ่งจะคอยสนับสนุนราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น การใช้นโยบายทางการเงินผ่อนคลายเป็นเวลานานได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักลงทุนว่าเป็นการบิดเบือนตลาดทุนและส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธนาคารรวมถึงธุรกิจอื่นๆ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเหนือ 0.7% ทำสูงสุดในรอบเกือบทศวรรษ หลังจากที่คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นได้กล่าวว่าธนาคารกลางสามารถยกเลิกอัตราดอกเบี้ยติดลบได้เมื่อเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% อย่างยั่งยืน ทาง BOJ อาจมีข้อมูลเพียงพอภายในสิ้นปีนี้และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นภายในปีนี้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมีการเพิ่มขึ้นในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 148.47, 148.59, 148.73
แนวรับสำคัญ: 148.20, 148.07, 147.94
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 21 กันยายน 2566 16:57 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 147.94 | 148.07 | 148.20 | 148.33 | 148.47 | 148.59 | 148.73 |
Fibonacci | 148.07 | 148.17 | 148.23 | 148.33 | 148.43 | 148.49 | 148.59 |
Camarilla | 148.28 | 148.30 | 148.33 | 148.33 | 148.37 | 148.40 | 148.42 |
Woodie's | 147.96 | 148.08 | 148.22 | 148.34 | 148.49 | 148.60 | 148.75 |
DeMark's | - | - | 148.14 | 148.30 | 148.40 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 148.47 - 148.59 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.73 และ SL ที่ประมาณ 148.07 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 148.47 - 148.59 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.2979 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.07 และ SL ที่ประมาณ 148.73 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 148.07 - 148.20 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.94 และ SL ที่ประมาณ 148.59 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 21 กันยายน 2566 16:57 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 60.138 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 67.428 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 52.040 | ถือหุ้นไว้ |
MACD(12,26) | 0.220 | ซื้อ |
ADX(14) | 34.412 | ซื้อ |
Williams %R | -27.920 | ซื้อ |
CCI(14) | 137.4866 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.3125 | ผันผวนสูง |
Highs/Lows(14) | 0.1343 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 59.468 | ซื้อ |
ROC | 0.298 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.5460 | ซื้อ |
ซื้อ:10 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ซื้อทันที |