USD ยังแข็งแกร่ง AUD เผชิญแรงกดดันท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจ
คู่สกุลเงิน AUD/USD เริ่มต้นเซสชั่นการซื้อขายในเอเชียช่วงเช้าวันศุกร์ทรงตัว และเผชิญกับแรงกดดันเทขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากทิศทางนโยบายล่าสุดของ Federal Reserve ในการคงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิมในวันพุธที่ผ่านมา และส่งสัญญาณเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปลายปีนี้
ทางด้านข้อมูลล่าสุดของออสเตรเลียที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์บ่งชี้ถึงพัฒนาการเศรษฐกิจเชิงบวก โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Global Services PMI) ของ S&P ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเป็น 50.5 จาก 47.8 ในเดือนสิงหาคม บ่งชี้ถึงการขยายตัวในภาคส่วน แม้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตจะลดลงเหลือ 48.2 จากการอ่านค่าครั้งก่อนที่ 49.6
นอกจากนี้ ออสเตรเลียคาดว่าจะประกาศการเกินดุลงบประมาณจำนวน 22.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (14.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งเป็นผลสำเร็จมาจากการเติบโตของงานที่แข็งแกร่งและผลกำไรจากธุรกิจเหมืองแร่ จึงถือเป็นการเกินดุลครั้งแรกในรอบ 15 ปี ภายใต้รัฐบาลพรรคแรงงาน โดยการเกินดุลในครั้งนี้คิดเป็นประมาณ 0.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในขณะที่รัฐบาลอาจจัดสรร 95% ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในการปรับปรุงสถานะทางการเงินของงบประมาณ และอาจส่งผลให้หนี้สาธารณะโดยรวมลดลง 87.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย รวมถึงลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยประมาณ 12 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในอีกห้าปีข้างหน้า ในปี 2569-27
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่าจะพบการขาดดุลงบประมาณในปีนี้ เนื่องจากแรงกดดันด้านการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนต่างๆ เช่น สุขภาพ พลังงาน และการป้องกันประเทศ อีกทั้ง ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาคาดว่าจะกดดันอุปสงค์ในประเทศ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้รับข้อมูลเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์แสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม นอกจากนี้ ยอดขายบ้านมือสองพบว่าลดลงเหลือ 4.04 ล้าน เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนสิงหาคม ลดลงจากตัวเลขก่อนหน้านี้ที่ 4.07 ล้าน
การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในช่วง 5.25-5.50% ในวันพุธนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของธนาคารกลางในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ในงานแถลง และระบุความพร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากเห็นว่าจำเป็น
แม้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในวันพฤหัสบดี แต่ก็ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการสื่อสารของธนาคารกลางสหรัฐฯ ถึงนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่จะยังคงเข้มงวดต่อไปอีกระยะหนึ่ง
นอกจากนี้ ภูมิทัศน์ทางการเงินสหรัฐฯ ยังพบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบทศวรรษเมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการประกาศของธนาคารกลางสหรัฐฯ เรื่องการคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น บ่งบอกถึงการสิ้นสุดยุคอัตราดอกเบี้ยต่ำ และส่งผลกระทบอย่างเด่นชัดต่อตลาดโลก
ทั้งนี้ ในวันพฤหัสบดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 และ 30 ปี เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 จุด แตะที่ 4.47% และ 4.56% ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2007 ถึงเดือนเมษายน 2011 ในขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 2 ปีซึ่งอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของนโยบายได้ขยับเข้าใกล้ 5.2% ใกล้ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2006 นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังลดจำนวนที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับปี 2024 และปรับเพิ่มประมาณการเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย FFR ภายในสิ้นปี 2025
อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงติดตามข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจาก S&P Global/CIPS ของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนอย่างใกล้ชิด โดยคาดว่านักลงทุนจะใช้ตัวเลขดังกล่าวเป็นสัญญาณสำหรับโอกาสในการซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับคู่สกุลเงิน AUD/USD จึงคาดว่าจะส่งผลให้ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อาจพบแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบกว้างตามข้อมูลเศรษฐกิจที่จะเผยแพร่
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6418, 0.6423, 0.6429
แนวรับสำคัญ : 0.6406, 0.6401, 0.6395
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6421 และ SL ที่ประมาณ 0.6391 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6428 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6435 และ SL ที่ประมาณ 0.6401 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6418 - 0.6428 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6418 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6404 และ SL ที่ประมาณ 0.6433 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6396 - 0.6406 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6390 และ SL ที่ประมาณ 0.6423 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Sep 22, 2023 09:34AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6387 | 0.6395 | 0.6404 | 0.6412 | 0.6421 | 0.6429 | 0.6438 |
Fibonacci | 0.6395 | 0.6401 | 0.6406 | 0.6412 | 0.6418 | 0.6423 | 0.6429 |
Camarilla | 0.6408 | 0.6410 | 0.6411 | 0.6412 | 0.6415 | 0.6416 | 0.6418 |
Woodie's | 0.6387 | 0.6395 | 0.6404 | 0.6412 | 0.6421 | 0.6429 | 0.6438 |
DeMark's | - | - | 0.6399 | 0.6410 | 0.6417 | - | - |