เศรษฐกิจเยอรมนีชะลอตัว ยูโรโซนเผชิญความท้าทายท่ามกลางกระแสโลก
จากการคาดการณ์ล่าสุดของสถาบัน IMK เศรษฐกิจของเยอรมนีคาดว่าจะเติบโตช้าลงในปีหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขาดโมเมนตัมเชิงบวกในช่วงปลายปีนี้ ทั้งนี้ สถาบัน IMK ซึ่งเป็นพันธมิตรกับสหภาพแรงงาน ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปอย่างเยอรมนี จะมีอัตราการเติบโตเล็กน้อยที่ 0.7% ในปี 2567 ซึ่งเป็นการปรับลดคาดการณ์ต่ำลงจากเมื่อฤดูใบไม้ผลิที่คาดว่าจะเติบโต 1.2% และมีต่ำกว่าการคาดการณ์ของสถาบันเศรษฐกิจเยอรมันอื่นๆ เช่น Ifo ที่คาดการเติบโตที่ 1.4%
ทั้งนี้ สถาบันเศรษฐกิจ 5 แห่งคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเยอรมนีจะหดตัว 0.6% ในปี 2566 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 6.1% ในปีนี้ แต่คาดว่าจะลดลงเหลือ 2.6% ในปีหน้า
การวิเคราะห์ของ IMK ชี้ให้เห็นว่ามีหลายปัจจัยที่มีส่วนทำให้ผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจซบเซา โดยพบว่าเศรษฐกิจเยอรมนีอ่อนแอลงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาพลังงาน และได้ขัดขวางการเติบโตเชิงบวกที่ผ่านมา นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่สูงและเศรษฐกิจโลกที่ซบเซายังได้ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนจะดูมีความหวัง แต่การฟื้นตัวดังกล่าวถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่สาม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นสูง ซึ่ง IMK ตั้งข้อสังเกตว่าการพัฒนาเชิงบวกนี้อาจสายเกินไปที่เยอรมนีจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2566 ได้ แต่อาจบรรเทาความรุนแรงลงได้ระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ จากการสำรวจของสถาบันเศรษฐกิจ Ifo ความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ส่งออกชาวเยอรมันลดลงในเดือนกันยายน โดยแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ซึ่งดัชนีชี้วัดความคาดหวังการส่งออกของสถาบันลดลงมาอยู่ที่ -11.3 จุดในเดือนกันยายน จาก -6.5 จุดในเดือนสิงหาคม ติดต่อกันเป็นเวลา 5 เดือน
ทั้งนี้ ตามรายงานของ Ifo การส่งออกที่ลดลงนั้นได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคส่วน ยกเว้นผู้ผลิตเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ และบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารบางแห่ง โดยการเติบโตของอุตสาหกรรมเคมีของเยอรมนีในเดือนกันยายน และผู้ผลิตรถยนต์ก็ไม่สามารถเป็นไปตามความคาดหวังได้
อีกด้าน จากข้อมูลของ Reuters บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในหมู่ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศส โดยพบการซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยส่วนบุคคลและผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนน้อยลง เช่น ผ้าอนามัยและน้ำยาซักผ้า ซึ่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ได้รับแรงหนุนจากราคาของผลิตภัณฑ์โดยแบรนด์หลักๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น P&G และ Unilever โดยคาดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจกลายเป็นสมรภูมิใหม่สำหรับผู้ค้าปลีก นักการเมือง และผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องต่อสู้กับปัญหาราคาอาหารมาเป็นเวลาหลายเดือน
ในขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงในฝรั่งเศสได้เพิ่มความพยายามในการจัดการกับภาวะเงินเฟ้อในกลุ่มธุรกิจร้านของชำในปีงบประมาณปัจจุบัน โดยมีแผนที่จะยกระดับการเจรจาประจำปีระหว่างผู้ผลิตอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ต และตั้งเป้าหมายให้การปรับลดราคามีผลเร็วขึ้นภายในวันที่ 15 มกราคม แทนที่วันที่ 1 มีนาคม
ในด้านการเงินทั่วโลก ดัชนีดอลลาร์แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น สะท้อนถึงความคาดหวังของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่สูง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงแสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและคงอัตราไว้ในระดับสูงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ดี แม้จะประสบปัญหาเศรษฐกิจบ้าง แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น จากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและการเติบโตของราคาที่อยู่อาศัย ท่ามกลางความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยมีสาเหตุหลักมาจากความกังวลเกี่ยวกับดัชนีราคาที่สูงขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการเมือง รวมถึงศักยภาพในการดำเนินงานของรัฐบาลอาจก่อให้เกิดการหยุดชะงัก
ทั้งนี้ ทางด้านผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะจับจ่ายใช้สอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าที่มีราคาสูง เช่น ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ว่าจะยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีหน้ายังคงอยู่ที่ 5.7% ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว ที่ได้ส่งผลให้มีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงได้อยู่ในระยะนี้ ในขณะที่อาจพบการปรับตัวขึ้นลงได้ตามมตินโยบายทางการเงินของธนาคารกลางและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยแนวโน้มในระยะกลางคาดว่าจะยังถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง จากความต่างของผลตอบแทนของทั้งสองเขตเศรษฐกิจ และภาวะเศรษฐกิจซบเซาของยูโรโซน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0574, 1.0579, 1.0586
แนวรับสำคัญ : 1.0560, 1.0555 , 1.0548
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0550 - 1.0560 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.0560 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0578 และ SL ที่ประมาณ 1.0545 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0574 - 1.0584 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0597 และ SL ที่ประมาณ 1.0555 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0574 - 1.0584 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.0574 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0559 และ SL ที่ประมาณ 1.0589 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.0550 - 1.0560 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0540 และ SL ที่ประมาณ 1.0579 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Sep 27, 2023 10:04AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0540 | 1.0548 | 1.0559 | 1.0567 | 1.0578 | 1.0586 | 1.0597 |
Fibonacci | 1.0548 | 1.0555 | 1.0560 | 1.0567 | 1.0574 | 1.0579 | 1.0586 |
Camarilla | 1.0564 | 1.0566 | 1.0567 | 1.0567 | 1.0571 | 1.0572 | 1.0574 |
Woodie's | 1.0540 | 1.0548 | 1.0559 | 1.0567 | 1.0578 | 1.0586 | 1.0597 |
DeMark's | - | - | 1.0553 | 1.0564 | 1.0572 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2