ออสเตรเลียอาจเติบโตได้ไม่ดีมากนักในอนาคต
ดอลลาร์ออสเตรเลียเริ่มกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามที่คาด แต่ก็ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในปีนี้ นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายเดือนในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 5.2% เพิ่มขึ้นจาก 4.9% ในเดือนกรกฎาคม สาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อของภาคส่วนอื่นมีการลดลงเล็กน้อย
ธนาคารกลางออสเตรเลียได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.1% ในระหว่างการประชุมครั้งล่าสุด หลังจากมีการพิจารณาว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 bps โดยถือว่าเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและทางด้านผู้กำหนดนโยบายได้กล่าวเพิ่มเติมว่าอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดแล้วแต่ก็ถือว่ายังสูงเกินไปในตอนนี้ ธนาคารกลางยังย้ำว่าอาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อกดดันอัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่เป้าหมายที่ 2-3% ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ทั้งนี้ การที่ RBA ปรับอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศรวมถึงอัตราเงินเฟ้อของสินค้าต่างๆ โดย RBA ได้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 3.25% ภายในสิ้นปี 2567 และจะกลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2568 แต่ในตอนนี้เศรษฐกิจออสเตรเลียมีการเติบโตที่ต่ำกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราการว่างงานจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 4.5% ในปลายปีหน้า
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการคาดการณ์แนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในออสเตรเลียเทียบกับแนวโน้มในช่วง 3-9 เดือนข้างหน้า พบว่าอยู่ที่ -0.50% โดยสามารถบอกได้ว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียจะยังคงอ่อนแอต่อไปอีกในปีหน้าและได้มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตต่ำกว่า 1% จนถึงเดือนมิถุนายน 2567
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายเดือนในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 5.2% เพิ่มขึ้นจาก 4.9% ในเดือนกรกฎาคม สาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อของภาคส่วนอื่นมีการลดลงเล็กน้อย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเหนือ 4.4% ถือว่าเป็นการทำจุดสูงสุดในรอบ 12 ปี เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกจะต้องคงระดับสูงต่อไปอีกนานและ FED ยังบอกอีกว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในสิ้นปีนี้ทำให้มีแรงสนับสนุน DXY และกดดันต่อตลาดทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 4.56%
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5642, 1.5675, 1.5693
แนวรับสำคัญ: 1.5590, 1.5571, 1.5539
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 27 กันยายน 2566 12:34 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 1.5539 | 1.5571 | 1.5590 | 1.5623 | 1.5642 | 1.5675 | 1.5693 |
Fibonacci | 1.5571 | 1.5591 | 1.5603 | 1.5623 | 1.5643 | 1.5655 | 1.5675 |
Camarilla | 1.5594 | 1.5598 | 1.5603 | 1.5623 | 1.5613 | 1.5617 | 1.5622 |
Woodie's | 1.5531 | 1.5567 | 1.5582 | 1.5619 | 1.5634 | 1.5671 | 1.5685 |
DeMark's | - | - | 1.5580 | 1.5618 | 1.5632 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5642 - 1.5675 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5693 และ SL ที่ประมาณ 1.5571 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5642 - 1.5675 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5642 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5571 และ SL ที่ประมาณ 1.5693 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5571 - 1.5590 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5539 และ SL ที่ประมาณ 1.5675 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 27 กันยายน 2566 12:34 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 63.533 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 64.559 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 100.000 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.003 | ซื้อ |
ADX(14) | 36.647 | ซื้อ |
Williams %R | -5.701 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 155.1012 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0050 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0070 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 60.257 | ซื้อ |
ROC | 1.094 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0097 | ซื้อ |
ซื้อ:9 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |