เงินเฟ้อในยูโรโซนเริ่มกลับมาลดลงอีกครั้ง
เงินยูโรยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งตัวขึ้นและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในสัปดาห์หน้าว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อีกทั้งเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงบ่งชี้ให้เห็นว่ายังสามารถเกิดการชะลอตัวลงได้มากกว่านี้จากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นรวมถึงได้มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตในยูโรโซนที่จะชะลอตัวลงไปด้วยจากการคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงไว้เป็นระยะเวลานาน
อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงเหลือ 4.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ของตลาดที่ 4.5% โดยเงินเฟ้อภาคพลังงานยังคงมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ทางด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ลดลงเหลือ 4.5% เช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อเทียบอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็นรายประเทศพบว่าเยอรมนี, ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์มีการลดลงเป็น 4.3%, 5.6% และ -0.3% ตามลำดับ แต่ในอิตาลีและสเปนอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.7% และ 3.5%
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อทั้ง 2 ประเภทยังคงสูงกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ 2% แต่ก็เห็นได้ว่าการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในหลายๆ เดือนที่ผ่านรวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปีก็สามารถกดดันเงินเฟ้อได้ดีแม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็ตาม ทั้งนี้การประชมของ ECB ที่ผ่านมาก็มีการคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกด้วย
อัตราการว่างงานในยูโรโซนลดลงเหลือ 6.4% ในเดือนสิงหาคม ทำให้จำนวนผู้ว่างงานลดลง 107,000 คนจากเดือนก่อนหน้าเหลือ 10.856 ล้านคน โดยอัตราว่างงานต่ำสุดคือเยอรมนีที่ 3% ในขณะที่อัตราการว่างงานสูงสุดพบในสเปนที่ 11.5% ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในสเปนยังเป็นอีกหนึ่งความกังวลที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอาจช่วยผลักดันเงินเฟ้อในสเปนให้สูงขึ้นอีกในเดือนต่อไป
PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนมีการลดลงเล็กน้อยที่ 43.4 ในเดือนกันยายน โดยยังคงได้รับผลกระทบมาจากคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงและการจ้างงานลดลงมากที่สุดในรอบเกือบสามปีแม้ว่าต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ จะเริ่มมีการลดลงแล้วก็ตาม เนื่องจากผู้ผลิตในยูโรโซนยังคงมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยดูได้จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูล PMI ที่ลดลงส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 93.3 ในเดือนกันยายน อีกทั้งนโยบายที่เข้มงวดของ ECB ยังคงกดดันความมั่นใจต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทต่างๆ นอกจากนี้ ดัชนีความคาดหวังเงินเฟ้อผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 2.9 จุดเป็น 12.0 ในเดือนกันยายน ซึ่งเกิดขึ้นจากราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9552, 0.9561, 0.9578
แนวรับสำคัญ: 0.9525, 0.9509, 0.9499
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 3 ตุลาคม 2566 09:48 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9499 | 0.9509 | 0.9525 | 0.9535 | 0.9552 | 0.9561 | 0.9578 |
Fibonacci | 0.9509 | 0.9519 | 0.9525 | 0.9535 | 0.9545 | 0.9551 | 0.9561 |
Camarilla | 0.9535 | 0.9538 | 0.9540 | 0.9535 | 0.9545 | 0.9547 | 0.9550 |
Woodie's | 0.9503 | 0.9511 | 0.9529 | 0.9537 | 0.9556 | 0.9563 | 0.9582 |
DeMark's | - | - | 0.9530 | 0.9537 | 0.9557 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9552 - 0.9561 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9578 และ SL ที่ประมาณ 0.9509 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9552 - 0.9561 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9552 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9509 และ SL ที่ประมาณ 0.9578 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9509 - 0.9525 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9499 และ SL ที่ประมาณ 0.9561 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 3 ตุลาคม 2566 09:48 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 69.281 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 62.894 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 100.000 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.003 | ซื้อ |
ADX(14) | 23.595 | ซื้อ |
Williams %R | -0.660 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 181.8375 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0030 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0063 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 70.346 | ซื้อมากเกินไป |
ROC | 0.405 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0114 | ซื้อ |
ซื้อ:8 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |