ปัจจัยทั่วโลกส่งผลกระทบต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียล่าสุดอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยได้รับแรงกดดันจากการตัดสินใจของธนาคารกลางออสเตรเลีย หลังจากที่ RBA ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน เลือกใช้นโยบายแบบเข้มงวดน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
โดยแม้ว่าตลาดการเงินทั่วโลกจะยังคงตึงตัว แต่ RBA ยืนยันว่าเศรษฐกิจของออสเตรเลียยังมีความยืดหยุ่น แม้ว่าจะรับรู้ได้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากทิศทางราคาสินทรัพย์ที่ตกต่ำและหลากหลาย หรือแม้แต่การชะลอตัวในจีน ซึ่งรายงานการทบทวนเสถียรภาพทางการเงินรายครึ่งปีของ RBA ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้ผู้ว่าการ Michele Bullock เน้นย้ำถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นที่กดดันภาคครัวเรือน และสร้างความตึงเครียดทางการเงิน โดยแม้ว่า RBA จะคงอัตราดอกเบี้ยในช่วงสี่เดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงระมัดระวังและอาจเลือกใช้นโยบายที่เข้มงวดขึ้นอีก หากอัตราเงินเฟ้อยังคงมีความหนืด โดยจากรายงานระบุว่า แม้ผู้กู้บางรายอาจกำลังเผชิญกับความตึงเครียดที่สูงขึ้น แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งของธนาคารในออสเตรเลีย
ทั้งนี้ การทบทวนดังกล่าวยังได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงในต่างประเทศ จากสภาวะทางการเงินทั่วโลกที่ตึงตัวขึ้น และอาจนำไปสู่ราคาสินทรัพย์และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงเกินการควบคุม โดยมีการหยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อ ซึ่ง RBA เตือนว่าภาวะทางการเงินทั่วโลกที่ตึงตัวอาจส่งผลกระทบไปยังออสเตรเลียผ่านตลาดทุนและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สถาบันการเงิน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ยังถูกระบุว่ากำลังเผชิญกับความสูญเสียในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการให้กู้ยืม ในขณะที่รายงานดังกล่าวยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับความเครียดทางการเงินในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของออสเตรเลีย
ทางด้านภูมิทัศน์ทางการเงินโดยรวม แสดงถึงการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันศุกร์ ในขณะที่นักลงทุนเฝ้ารอข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะมีผลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดที่อาจเกิดขึ้น โดยดัชนีดอลลาร์ หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนในช่วงต้นสัปดาห์ ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ติดต่อกัน ในขณะที่สภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงตึงตัว โดยพบว่าจำนวนการขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นปานกลาง และการเลิกจ้างลดลงในเดือนกันยายน
ในขณะเดียวกัน ข้อมูลการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมบ่งชี้ถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยการส่งออกสินค้าทุนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเพื่อชะลออุปสงค์ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวได้ดี โดยการขาดดุลการค้าที่ลดลง ส่งผลให้การค้ารองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สาม และเพิ่มความเสี่ยงที่ Federal Reserve จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในสิ้นปี
นอกจากนี้ ท่ามกลางการขายพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกในวงกว้าง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 30 ปีทรงตัวหลังจากพุ่งเกินกว่า 5% ช่วงต้นสัปดาห์ จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ซึ่งสนับสนุนความมุ่งมั่นของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในระยะยาว ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบแคบๆ ช่วงนี้ แม้ว่าจะยังคงถูกกดันอีกเล็กน้อยในระยะยาว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6382, 0.6385, 0.6389
แนวรับสำคัญ : 0.6372, 0.6369, 0.6365
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6362 - 0.6372 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6372 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6384 และ SL ที่ประมาณ 0.6357 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6382 - 0.6392 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6400 และ SL ที่ประมาณ 0.6367 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6382 - 0.6392 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6382 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6372 และ SL ที่ประมาณ 0.6397 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6362 - 0.6372 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6358 และ SL ที่ประมาณ 0.6387 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Oct 06, 2023 10:10AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6360 | 0.6365 | 0.6372 | 0.6377 | 0.6384 | 0.6389 | 0.6397 |
Fibonacci | 0.6365 | 0.6369 | 0.6372 | 0.6377 | 0.6382 | 0.6385 | 0.6389 |
Camarilla | 0.6376 | 0.6377 | 0.6378 | 0.6377 | 0.6380 | 0.6381 | 0.6382 |
Woodie's | 0.6360 | 0.6365 | 0.6372 | 0.6377 | 0.6384 | 0.6389 | 0.6397 |
DeMark's | - | - | 0.6374 | 0.6378 | 0.6386 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2