EUR/USD ปรับตัวขึ้นท่ามกลางดอลลาร์อ่อนค่าและความท้าทายทางเศรษฐกิจในยูโรโซน
เมื่อวันอังคาร EUR/USD ขยับขึ้น 0.24% โดยมีสาเหตุหลักมาจากความเปราะบางของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และสัญญาณเชิงบวกจาก ECB เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นท่ามกลางความผันผวนของอุปทาน รวมถึงตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลีที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างไม่คาดคิด
ทั้งนี้ ค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ได้รับแรงกดดันจากอารมณ์ Risk-off ของตลาดอันเนื่องมาจากความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลาง โดยความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์นี้ส่งผลให้นักลงทุนหันไปลงทุนในเงินดอลลาร์ ส่งผลให้เงินยูโรร่วงลงก่อนหน้านี้ กอปรกับข้อมูลการใช้จ่ายที่น่าผิดหวังในช่วงวันหยุดยาวของจีน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่หดตัวอย่างมาก ได้มีส่วนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของภูมิภาคและสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อเงินยูโร
โดยแนวโน้มเศรษฐกิจที่ตกต่ำในยุโรปยังคงเป็นปัจจัยสำคัญกดดันค่าเงิน ท่ามกลางแนวโน้มในการรักษาอัตราดอกเบี้ยจาก ECB ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ซึ่งช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อค่าเงินยูโรได้เพียงเล็กน้อย
จากการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเขตยูโรโซน ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ในช่วงต้นเดือนตุลาคม โดยเศรษฐกิจเยอรมนี แม้ยังคงความอ่อนแอ แต่ความเชื่อมั่นฟื้นตัวดีขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณแรงกดดันต่อภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยแม้สถานการณ์ที่ดูเหมือนจะฟื้นตัวดีขึ้นในเยอรมนีได้ก่อเกิดให้เกิดความผันผวน แต่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนียังคงถูกคาดการณ์ว่าจะหดตัวต่อไปในอีกในอนาคต เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงและความต้องการที่ลดลง
ทั้งนี้ ภาคการผลิตของเยอรมนียังคงอยู่ในภาวะตกต่ำ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนกันยายน ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์การเติบโต ในขณะที่แนวโน้มธุรกิจในอิตาลีมืดมนมากขึ้นในไตรมาสที่สาม โดยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภูมิทัศน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงราคาพลังงานที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อมุมมองเชิงลบ
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความวุ่นวายทางภูมิรัฐศาสตร์ ดัชนีดอลลาร์ได้ปรับตัวลดลงในวันอังคาร โดยได้รับอิทธิพลจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นและท่าทีของเฟดแอตแลนตาต่ออัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ล่าสุดอ่อนค่าลงในรอบสองสัปดาห์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยจากเหตุความตึงเครียดในตะวันออกกลาง
ทั้งนี้ ภูมิทัศน์ทางการเงินที่ซับซ้อนนี้อาจได้รับแรงกระตุ้นจากคำแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งคาดว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น และสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ตามด้วยรายงาน Non-Farm Payrolls (NFP) จึงอาจส่งผลให้เงินยูโรมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบขาลงแบบจำกัดอีกเล็กน้อยในระยะนี้ โดยแนวโน้มในระยะกลางคาดว่าจะยังถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง จากความต่างของผลตอบแทนของทั้งสองเขตเศรษฐกิจ และภาวะเศรษฐกิจซบเซาของยูโรโซน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0615, 1.0618, 1.0624
แนวรับสำคัญ : 1.0603, 1.0600, 1.0594
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0593 - 1.0603 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.0603 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0618 และ SL ที่ประมาณ 1.0588 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0615 - 1.0625 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0633 และ SL ที่ประมาณ 1.0598 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0615 - 1.0625 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.0615 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0603 และ SL ที่ประมาณ 1.0630 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.0593 - 1.0603 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0588 และ SL ที่ประมาณ 1.0620 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Oct 11, 2023 09:54AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0588 | 1.0594 | 1.0603 | 1.0609 | 1.0618 | 1.0624 | 1.0633 |
Fibonacci | 1.0594 | 1.0600 | 1.0603 | 1.0609 | 1.0615 | 1.0618 | 1.0624 |
Camarilla | 1.0607 | 1.0608 | 1.0610 | 1.0609 | 1.0612 | 1.0614 | 1.0615 |
Woodie's | 1.0588 | 1.0594 | 1.0603 | 1.0609 | 1.0618 | 1.0624 | 1.0633 |
DeMark's | - | - | 1.0606 | 1.0610 | 1.0621 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2