เศรษฐกิจออสเตรเลียยังคงมีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้ออยู่
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งนักลงทุนประเมินแล้วว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเลียดีขึ้นในเดือนตุลาคม ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจทรงตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน รวมถึงการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งช่วยผลักดันให้ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นมากกว่าเดิม
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 2.9% เป็น 82 ในเดือนตุลาคม แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในแดนลบอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับการหดตัวอย่างต่อเนื่องของการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ถึงอย่างนั้นก็ยังพอมีความหวังว่าการจ้างงานจะเพิ่มมากขึ้นรวมถึงรายได้ต่อครัวเรื่อนอาจจะปรับเพิ่มขึ้นไปด้วย
สถานการณ์ในปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยก็กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งแม้ว่าจะมีการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ RBA แต่ความคิดเห็นส่วนใหญ่ของนักลงทุนคาดว่าจะมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้อย่างแน่นอน เพื่อให้เงินเฟ้อกลับเข้ากรอบเป้าหมายที่ 2-3% ในระยะยาว
ยอดค้าปลีกในออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) ในเดือนสิงหาคม การเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการเติบโตของยอดค้าปลีก ทั้งนี้ ก็ยังแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีการควบคุมการใช้จ่ายเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูงทำให้ผู้บริโภคยังคงกังวลกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นรวมถึงสถานะการเงินของแต่ละครัวเรือนยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันที่รุนแรงแม้จะมีการผ่อนคลายขึ้นเล็กน้อยก็ตาม
การเกินดุลการค้าของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็น 9.64 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในเดือนสิงหาคม ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่จะเพิ่มขึ้น 8.725 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เนื่องจากการส่งออกขยายตัวมากกว่าที่คาด ในขณะที่การนำเข้าลดลงเล็กน้อย โดยลดลง 0.4% จากเดือนก่อนหน้า เป็น 46.05 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย พบว่าการนำเข้าทองคำและเครื่องจักรลดลงมากที่สุด
ด้านการส่งออกเพิ่มขึ้น 4% จากเดือนก่อนหน้า เป็น 55.69 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากการส่งออกไปยังจีนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับต้นๆ ของประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตในจีนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทำให้การส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นถึง 5.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนคิดเป็น 16.49 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย อีกทั้งการส่งออกส่วนใหญ่คือแร่โลหะและแก๊สปิโตรเลียมที่มีความจำเป็นในหลายอุสาหกรรมของจีน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5607, 1.5630, 1.5661
แนวรับสำคัญ: 1.5553, 1.5522, 1.5500
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 11 ตุลาคม 2566 19:55 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 1.5500 | 1.5522 | 1.5553 | 1.5576 | 1.5607 | 1.5630 | 1.5661 |
Fibonacci | 1.5522 | 1.5543 | 1.5555 | 1.5576 | 1.5597 | 1.5609 | 1.5630 |
Camarilla | 1.5569 | 1.5574 | 1.5579 | 1.5576 | 1.5589 | 1.5594 | 1.5599 |
Woodie's | 1.5504 | 1.5524 | 1.5557 | 1.5578 | 1.5611 | 1.5632 | 1.5665 |
DeMark's | - | - | 1.5537 | 1.5568 | 1.5591 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5607 - 1.5630 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5661 และ SL ที่ประมาณ 1.5522 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5607 - 1.5630 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5607 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5522 และ SL ที่ประมาณ 1.5661 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5522 - 1.5553 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5500 และ SL ที่ประมาณ 1.5630 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 11 ตุลาคม 2566 19:55 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 43.620 | ขาย |
STOCH(9,6) | 30.883 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 45.115 | ถือหุ้นไว้ |
MACD(12,26) | -0.003 | ขาย |
ADX(14) | 26.045 | ซื้อ |
Williams %R | -69.405 | ขาย |
CCI(14) | -44.5145 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0064 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.0002 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 45.914 | ขาย |
ROC | -0.467 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0045 | ขาย |
ซื้อ:1 ขาย:8 ถือหุ้นไว้:2 สรุป:ขายทันที |