เงินเฟ้อในระยะสั้นของยูโรโซนยังต้องมีการตับตาดูอย่างใกล้ชิด
ยูโรเริ่มมีการดีดตัวกลับอีกครั้ง ซึ่งทางด้านนักลงทุนเริ่มมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นหลังจากได้มีความคิดเห็นจากผู้กำหนดนโยบายทั้งของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยผู้กำหนดนโยบายของ Fed มีความคิดเห็นว่าอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว อาจขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก และ Luis de Guindos รองประธาน ECB กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวคาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มลดลง ถึงอย่างนั้น ก็จำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝันด้วย
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) ในเดือนสิงหาคม โดยได้แรงหนุนจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น 2.5% ทางด้านราคาสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่มีการปรับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
การที่ตัวเลข PPI เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการปรับการคาดการณ์เงินเฟ้อระยะสั้นเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดนที่อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) อีกทั้งความกังวลด้านราคาพลังงานรวมถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ยังเป็นอีกหนึ่งความกังวลที่ต้องจับตาดูว่าจะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้จะยืดเยื้อนานแค่ไหน และอาจทำให้ราคาน้ำมันกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ทางด้าน Francois Villeroy de Galhau กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงบรรลุเป้าหมายของ ECB ที่ประมาณ 2% ภายในสิ้นปี 2568 แม้ว่าความรุนแรงจะปะทุขึ้นในอิสราเอลก็ตาม ทั้งนี้ Christine Lagarde ประธานของ ECB ยังคงใช้ ปัจจัยทั้ง 3 มาเป็นตัวตัดสินใจในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ, ตัวผลักดันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและความแข็งแกร่งของการส่งผ่านนโยบายการเงิน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกแล้วในอนาคต
ยอดค้าปลีกในเขตยูโรลดลง 1.2 %เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนสิงหาคม โดยยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ลดลง 3% ท่ามกลางราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยอดขายอาหาร ,เครื่องดื่มและยาสูบลดลง 1.2% อีกทั้งการค้าขายออนไลน์ลดลง 4.5% สังเกตได้ว่าผู้บริโภคเริ่มมีการใช้จ่ายที่ลดลงแล้ว ซึ่งมาจากส่งผ่านนโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพ
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของยูโรโซนเริ่มมีการปรับลดลงทุกช่วงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่มีการลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วในปีนี้รวมถึงตัวเลข CPI ที่จะมีการประกาศในสัปดาห์นี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีมากขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9419, 0.9426, 0.9430
แนวรับสำคัญ: 0.9407, 0.9402, 0.9395
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 12 ตุลาคม 2566 10:56 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9395 | 0.9402 | 0.9407 | 0.9414 | 0.9419 | 0.9426 | 0.9430 |
Fibonacci | 0.9402 | 0.9407 | 0.9410 | 0.9414 | 0.9418 | 0.9421 | 0.9426 |
Camarilla | 0.9408 | 0.9410 | 0.9411 | 0.9414 | 0.9413 | 0.9414 | 0.9415 |
Woodie's | 0.9393 | 0.9401 | 0.9405 | 0.9413 | 0.9417 | 0.9425 | 0.9428 |
DeMark's | - | - | 0.9405 | 0.9413 | 0.9417 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9419 - 0.9426 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9430 และ SL ที่ประมาณ 0.9402 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9419 - 0.9426 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9419 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9402 และ SL ที่ประมาณ 0.9430 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9402 - 0.9407 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9395 และ SL ที่ประมาณ 0.9426 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 12 ตุลาคม 2566 10:56 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 35.410 | ขาย |
STOCH(9,6) | 22.015 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 4.074 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.002 | ขาย |
ADX(14) | 37.765 | ขาย |
Williams %R | -90.891 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -109.4769 | ขาย |
ATR(14) | 0.0024 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.0016 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 39.353 | ขาย |
ROC | -0.772 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0036 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:9 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ขายทันที |