BOJ คงจุดยืนเส้นควบคุมผลตอบแทน ท่ามกลางการคาดการณ์เงินเฟ้อ
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) แจงยังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับเส้นควบคุมผลตอบแทน โดยยืนยันว่ายังคงพบความยืดหยุ่นภายใต้เพดานอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งการดำเนินงานภายใต้นโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) BOJ ตั้งเป้าหมายที่ -0.1% สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น แล 0% สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสูงสุด 10 ปีสามารถปรับขึ้นลงได้ภายในกรอบบนและล่างที่ 1% ท่ามกลางการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินเป้าหมาย โดย Asahi Noguchi สมาชิกคณะกรรมการ BOJ ได้เน้นย้ำถึงการกระตุ้นทางเศรษฐกิจเพื่อผลักดันอัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับที่ยั่งยืน (Reflation) และปฏิเสธการคาดการณ์ที่เกิด โดยเน้นย้ำว่ายังคงมีพื้นที่ว่างสำหรับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 1% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ที่ประมาณ 0.8%
ทั้งนี้ การประชุมนโยบายของ BOJ ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 30-31 ต.ค. อาจให้ข้อมูลและทิศทางเชิงลึกเพิ่มเติม โดย Noguchi คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของธนาคารและอัตราเงินเฟ้อ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเติบโตของค่าจ้างอย่างยั่งยืนเพื่อเอื้อต่อภาวะเงินเฟ้อในระยะยาว โดยเตือนถึงความเสี่ยงจากการปรับเปลี่ยนนโยบายก่อนเวลาอันควร รวมถึงระบุถึงความเสี่ยงด้านลบที่อาจเกิดขึ้น เช่น จีนที่กำลังเผชิญกับภาวะเงินฝืดและการเติบโตต่ำ ซึ่งคล้ายกับความท้าทายที่ญี่ปุ่นเคยเผชิญมาในอดีต และแม้ว่าการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในครัวเรือนญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้น แต่หากการเติบโตของค่าจ้างมีความล่าช้า ผู้บริโภคก็อาจปรับลดการใช้จ่ายลงได้
อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าของญี่ปุ่นยังคงถูกกดดันจากความเปราะบางทั่วโลก รวมถึงผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น เงินเยนที่อ่อนค่าลง และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมัน โดยผลสำรวจของรอยเตอร์ Tankan ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจในกลุ่มผู้ผลิตชาวญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม ซึ่งบางบริษัทได้มีการพิจารณาย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนเนื่องจากการชะลอตัวภายในประเทศที่ยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่เปราะบาง จากการสำรวจของรอยเตอร์ บริษัทญี่ปุ่นได้แสดงความต้องการให้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจำนวนที่มากกว่า 10 ล้านล้านเยน ซึ่งความเชื่อมั่นนี้สอดคล้องกับจำนวนคำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นที่ลดลงเป็นเวลาสองเดือนติดต่อกันในเดือนสิงหาคม และบ่งบอกถึงความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการฟื้นตัวที่ไม่แน่นอนของจีน
ทางด้านบริบทเศรษฐกิจโลก เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นจากดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงกว่าคาดในเดือนกันยายน โดยรายงานของกระทรวงแรงงานเผยให้เห็นค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อตลาด และอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายคาดว่าค่าเช่าที่พุ่งสูงขึ้นจะกลับตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และบางรายเชื่อว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นระยะเวลานานขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ในขณะที่ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น อาจทำให้เฟดผ่อนคลายท่าทีการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไป
จึงคาดว่าจะยังคงส่งผลให้ค่าเงินเยนถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดคาดการณ์ว่าหากคู่สกุลเงินมีการแตะถึงระดับที่มากกว่า 150.00 อาจกระตุ้นให้เกิดการแทรกแซงจากทางการญี่ปุ่นได้อีกครั้ง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 149.82, 149.85, 149.89
แนวรับสำคัญ : 149.74, 149.71, 149.67
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 149.64 – 149.74 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 149.74 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.84 และ SL ที่ประมาณ 149.59 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 149.82 – 149.92 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.05 และ SL ที่ประมาณ 149.69 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 149.82 – 149.92 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 149.82 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.73 และ SL ที่ประมาณ 149.97 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 149.64 – 149.74 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.40 และ SL ที่ประมาณ 149.87 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Oct 13, 2023 11:54AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 149.62 | 149.67 | 149.73 | 149.78 | 149.84 | 149.89 | 149.95 |
Fibonacci | 149.67 | 149.71 | 149.74 | 149.78 | 149.82 | 149.85 | 149.89 |
Camarilla | 149.77 | 149.78 | 149.79 | 149.78 | 149.82 | 149.83 | 149.84 |
Woodie's | 149.64 | 149.68 | 149.75 | 149.79 | 149.86 | 149.90 | 149.97 |
DeMark's | - | - | 149.76 | 149.79 | 149.87 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2