จีนยังคงเผชิญกับเงินฟืดอย่างต่อเนื่อง
เงินหยวนของจันเริ่มกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังจากที่หยวนมีการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยืนยันไว้เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าจะเริ่มมีการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินอย่างจริงจังและรักษาค่าเงินหยวนให้มีเสถียรภาพ ซึ่งหยวนได้รับผลกระทบอย่างมากจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในจีนและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งจากธนาคารกลาง ทำให้รัฐบาลจีนต้องสนับสนุนเพื่อทำให้เศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้
อัตราเงินเฟ้อของจีนกลับมาที่ 0% อีกครั้งเมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสถานการณ์ในตอนนี้สามารถบอกได้ว่าจีนยังคงเผชิญกับภาวะเงินฟืดอยู่ อีกทั้ง การอ่อนค่าลงของเงินหยวนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาทำให้จีนยังไม่สามารถลดอัตราดเบี้ยได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้นักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากอุปสงค์ที่หดตัวลงจากเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ทั้งนี้ เงินเฟ้อในอาหารลดลง 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกันยายน ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ต่างๆ ลดลงไปอย่างมาก เนื่องจากยังมีอุปทานที่เพียงพอก่อนช่วงวันหยุด Golden Week ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงมาอย่างรวดเร็วถึง 22% รวมถึงราคาผักสดและผลไม้สดก็มีการลดลงเช่นกัน
การเกินดุลการค้าของจีนในเดือนกันยายนลดลงเหลือ 77.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจาก มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าทั้งการส่งออกและการนำเข้ามีการหดตัวลง สะท้อนถึงอุปสงค์ที่อ่อนแออย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้ง การกีดกันทางการค้าที่เกิดขึ้นยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การค้าขายมีความลำบากมากขึ้น
การนำเข้าไปยังจีนลดลง 6.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยลดลงเหลือ 221.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แสดงถึงอุปสงค์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวแม้ว่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อน Golden week ก็ตาม ทั้งนี้ การนำเข้าโลหะลดลงไปอย่างมาก ซึ่งตรงข้ามกับการนำเข้าน้ำมันดิบและถ่านหินที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าจีนยังจำเป็นที่จะต้องนำเข้าพลังงานฟอสซิลแม้ว่าจะเริ่มมีการใช้พลังงานทดแทนไปบางส่วนแล้วก็ตาม ซึ่งการนำเข้าน้ำมันส่วนใหญ่มาจากออสเตรเลียและรัสเซีย
การส่งออกจากจีนลดลง 6.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี เหลือ 299.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัญหาการกีดกันการค้าในตอนนี้ยังคงส่งผลต่อจีน รวมถึงปัญหาการผลิตในประเทศยังเติบโตได้ไม่ดีมากนัก ทำให้การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญเช่นสหรัฐฯ และยูโรโซนลดลง 20.9% ถึงอย่างนั้นการค้าขายกับรัสเซียยังคงเป็นไปได้ด้วยดีโดยพบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 21%
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 7.3103, 7.3114, 7.3130
แนวรับสำคัญ: 7.3076, 7.3060, 7.3050
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 16 ตุลาคม 2566 14:13 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 7.3050 | 7.3060 | 7.3076 | 7.3087 | 7.3103 | 7.3114 | 7.3130 |
Fibonacci | 7.3060 | 7.3071 | 7.3077 | 7.3087 | 7.3097 | 7.3103 | 7.3114 |
Camarilla | 7.3085 | 7.3088 | 7.3090 | 7.3087 | 7.3095 | 7.3097 | 7.3100 |
Woodie's | 7.3052 | 7.3061 | 7.3078 | 7.3088 | 7.3105 | 7.3115 | 7.3132 |
DeMark's | - | - | 7.3081 | 7.3090 | 7.3108 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 7.3103 - 7.3114 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.3130 และ SL ที่ประมาณ 7.3060 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 7.3103 - 7.3114 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.3103 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.3060 และ SL ที่ประมาณ 7.3130 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 7.3060 - 7.3076 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.3050 และ SL ที่ประมาณ 7.3114 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 16 ตุลาคม 2566 14:13 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 59.428 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 84.355 | ซื้อมากเกินไป |
STOCHRSI(14) | 100.000 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.002 | ซื้อ |
ADX(14) | 28.575 | ซื้อ |
Williams %R | -0.788 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 149.3777 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.0049 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0053 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 66.208 | ซื้อ |
ROC | 0.175 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0106 | ซื้อ |
ซื้อ:8 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |