ยุโรปอาจจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง
เงินยูโรกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง เนื่องจากนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจกับดอลลาร์อีกครั้ง หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่เกินกว่าคาดของสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง แม้ว่าในการประชุมที่ผ่านมาของ Fed ยังมีจุดยืนว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป แต่ได้มีการบอกเป็นนัยว่าอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหากเงินเฟ้อยังสูงอยู่
การประชุมที่ผ่านมาของธนาคารกลางยูโรป (ECB) แสดงให้เห็นถึงมุมมองที่ต่างกันของผู้กำหนดนโยบาย โดยที่มีความกังวลว่าเงินเฟ้อในยูโรโซนจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ทำให้ผู้กำหนดนโยบายบางคนสนับสนุนให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมและบางส่วนแนะนำว่าให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ถึงอย่างนั้น หากมีตัดสินใจว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็อาจทำให้เศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอนี้ย่ำแย่ลงมากกว่าเดิม
ทั้งนี้ ECB ได้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ที่ประมาณ 2% อย่างแน่นอน เนื่องจากสงครามที่เกิดขึ้นทำให้มีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้และทำให้ ECB ต้องใช้นโบยายที่เข้มงวดอีกครั้งในปลายปีนี้
ยูโรโซนมีการเกินดุลการค้า 6.7 พันล้านยูโรในเดือนสิงหาคม โดยเพิ่มขึ้น 6.3% จากเดือนก่อนหน้าคิดเป็น 6.3 พันล้านยูโร ซึ่งเกิดจากตัวเลขการนำเข้าและการส่งออกลดลงเล็กน้อย โดยที่การนำเข้าลดลง 2.7% เหลือ 214.9 พันล้านยูโร ในขณะที่การส่งออกลดลง 3.9% สู่ 221.6 พันล้านยูโร โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นเครื่องจักร, ยานพาหนะ, อาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ ตัวเลขการขาดดุลการค้ากับรัสเซียและจีนมีการลดลงเหลือ 9.7 พันล้านยูโร และ 197.6 พันล้านยูโร ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม พบว่ายูโรโซนมีการเกินดุลอยู่เพียง 8.1 พันล้านยูโร เท่านั้น เนื่องจากการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น โดยจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบจากรัสเซียเป็นจำนวนมาก และผลจากสงครามทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการขาดดุลการค้ามหาศาลในเดือนมกราคม โดยในปัจจุบัน ยูโรโซนได้ลดการนำเข้าน้ำมันลงอย่างมากและเริ่มมีการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของยูโรโซนอายุ 10 ปี ได้ปรับตัวลดลงเหลือ 3.58% เนื่องจาก ECB ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งล่าสุด แต่ก็มีสัญญาณว่าอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกหากมีความจำเป็นและจะส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9481, 0.9486, 0.9494
แนวรับสำคัญ: 0.9469, 0.9462, 0.9457
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 17 ตุลาคม 2566 12:26 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9457 | 0.9462 | 0.9469 | 0.9474 | 0.9481 | 0.9486 | 0.9494 |
Fibonacci | 0.9462 | 0.9466 | 0.9469 | 0.9474 | 0.9479 | 0.9482 | 0.9486 |
Camarilla | 0.9472 | 0.9473 | 0.9474 | 0.9474 | 0.9477 | 0.9478 | 0.9479 |
Woodie's | 0.9457 | 0.9462 | 0.9469 | 0.9474 | 0.9481 | 0.9486 | 0.9494 |
DeMark's | - | - | 0.9471 | 0.9475 | 0.9483 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9481 - 0.9486 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9494 และ SL ที่ประมาณ 0.9462 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9481 - 0.9486 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9481 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9462 และ SL ที่ประมาณ 0.9494 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9462 - 0.9469 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9457 และ SL ที่ประมาณ 0.9486 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 17 ตุลาคม 2566 12:26 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 51.486 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 31.475 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 18.577 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.000 | ซื้อ |
ADX(14) | 26.320 | ซื้อ |
Williams %R | -41.699 | ซื้อ |
CCI(14) | -29.4597 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0024 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 45.993 | ขาย |
ROC | 0.655 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.0002 | ขาย |
ซื้อ:4 ขาย:3 ถือหุ้นไว้:3 สรุป:ซื้อ |