ญี่ปุ่นเจอปัญหาจากภาคการผลิตที่หดตัว
เงินเยนของญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยใกล้ระดับ 150 JPY/USD ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อสนันสนุบเงินเยนซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์กลัวว่าอาจกระตุ้นให้ทางการญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงค่าเงินอีกครั้งด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ได้เกิดการเข้ามาแทรกแซงค่าเงินอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ประเทศ โดยดูได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีการลดลง เป็นการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเงินเฟ้อจากการนำเข้าสินค้าจากการที่ค่าเงินของตัวเองอ่อนค่าลง
นาโอยูกิ ชิโนฮาระ อดีตนักการทูตด้านสกุลเงินชั้นนำของญี่ปุ่น กล่าวกับรอยเตอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ญี่ปุ่นจะไม่พยายามปรับเปลี่ยนแนวโน้มของเงินเยนด้วยการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในส่วนอื่นๆ ยังมีความเปราะบางและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือที่เร่งด่วนกว่า
อัตราเงินเฟ้อรายปีในญี่ปุ่นลดลงเหลือ 3.0% ในเดือนกันยายนจาก 3.2% ในเดือนก่อนหน้า โดยราคาเชื้อเพลิง, ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำในญี่ปุ่นลดลงอย่างรวดเร็ว แต่พบว่าราคาอาหารกลับมีการเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมในปี 1976 โดยเพิ่มขึ้นสูงถึง 9% แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้กำหนดไว้
PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นคงตัวอยู่ที่ 48.5 ในเดือนตุลาคม นี่ถือว่าเป็นสัญญาณว่าภาคการผลิตยังสามารถหดตัวลงได้อีก จากคำสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีแรงกดดันด้านกำลังการผลิตที่ลดลงส่งผลให้ระดับการจ้างงานลดลงตามไปด้วย แม้ว่าต้นทุนในการผลิตยังคงทรงตัวแต่ก็ไม่มีแนวโน้มว่าภาคการผลิตในญี่ปุ่นจะฟื้นตัวในเร็วๆ นี้
PMI ภาคการบริการลดลงเหลือ 51.1 ในเดือนตุลาคมจาก 53.9 ในเดือนก่อนหน้า ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตที่อ่อนแอลง เนื่องจากอุปสงค์ที่เริ่มหดตัวลงจากต่างประเทศ แต่ทว่าปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานในปัจจุบันทำให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและมีโอกาสที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในอนาคต ด้านความเชื่อมั่นยังคงเป็นบวกแม้ว่าจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนก็ตาม
ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจชั้นนำในญี่ปุ่นซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้ามีการปรับลดลงเล็กน้อย โดยปรับลดลงมาเหลือ 109.2 เนื่องจากปัญหาการเติบโตของภาคการผลิตและอุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลง อีกทั้งยังมีปํญหาจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงมาเล็กน้อย แต่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังสามารถฟื้นตัวได้อีก โดยภาคบริการเติบโตสูงสุดในรอบสามเดือนในเดือนสิงหาคม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 149.98, 150.04, 150.12
แนวรับสำคัญ: 149.84, 149.76, 149.70
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 25 ตุลาคม 2566 20:59 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 149.70 | 149.76 | 149.84 | 149.90 | 149.98 | 150.04 | 150.12 |
Fibonacci | 149.76 | 149.81 | 149.85 | 149.90 | 149.95 | 149.99 | 150.04 |
Camarilla | 149.90 | 149.91 | 149.92 | 149.90 | 149.95 | 149.96 | 149.97 |
Woodie's | 149.72 | 149.77 | 149.86 | 149.91 | 150.00 | 150.05 | 150.14 |
DeMark's | - | - | 149.87 | 149.91 | 150.01 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 149.98 - 150.04 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.12 และ SL ที่ประมาณ 149.76 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 149.98 - 150.04 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 149.98 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.76 และ SL ที่ประมาณ 150.12 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 149.76 - 149.84 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.70 และ SL ที่ประมาณ 150.04 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 25 ตุลาคม 2566 20:59 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 56.487 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 83.430 | ซื้อมากเกินไป |
STOCHRSI(14) | 78.744 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.050 | ซื้อ |
ADX(14) | 21.663 | ซื้อ |
Williams %R | -12.501 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 80.8588 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.2064 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0018 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 57.971 | ซื้อ |
ROC | 0.047 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.1970 | ซื้อ |
ซื้อ:8 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |