เยนแตะระดับต่ำสุดอีกครั้ง ตลาดคาดการแทรกแซงจากญี่ปุ่น
เงินเยนล่าสุด ข้ามแนวแส้นวิกฤตที่ 150 เยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งที่สองในเดือนนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบปี สร้างความคาดหวังว่ารัฐบาลญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน และอาจเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลญี่ปุ่นใช้เงินจำนวนมากเพื่อประคับประคองสกุลเงิน หลังจากที่เคยใช้เงินสูงถึง 60 พันล้านดอลลาร์ ในการเข้าแทรกแซงเมื่อปีที่แล้ว
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่า คือความต่างของอัตราดอกเบี้ยในประเทศและสหรัฐฯ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) มุ่งใช้นโยบายทางการเงินในการรักษาอัตราดอกเบี้ยติดลบที่แตกต่างจากธนาคารกลางหลักในหลายประเทศ ในขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อตอบสนองต่อความกังวลด้านเงินเฟ้อ ซึ่งได้ช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างมากในช่วงที่ผ่านมา และส่งผลให้เงินเยนเป็นหนึ่งในสกุลเงินเอเชียที่แย่ที่สุดในปี 2023 โดยลดลงไปแล้วมากกว่า 12%
อย่างไรก็ดี แม้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะมีกำหนดจัดการประชุมในสัปดาห์หน้า แต่มีการคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายนั้นยังไม่น่ามีความเป็นไปได้ ท่ามกลางการคาดการณ์เพิ่มเติมว่า BOJ อาจกำลังพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราของสหรัฐฯ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทน 10 ปีได้แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งอาจช่วยสนับสนุนเงินเยนขึ้นมาได้
ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ชุนอิจิ ซูซูกิ แสดงความรู้สึกตอบสนองต่อตลาดสกุลเงินแบบเร่งด่วน แม้จะยังไม่มีการยืนยันถึงการเข้าแทรกแซงล่าสุด ในขณะที่จากการสำรวจของรอยเตอร์เมื่อเร็วๆ นี้ นักเศรษฐศาสตร์สองในสามคาดว่า BOJ จะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบและนโยบายแบบผ่อนคลายพิเศษในปีหน้า
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภูมิทัศน์เศรษฐกิจของญี่ปุ่น ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ที่ส่งผลต่อต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น โดยท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้น ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นก็ยังคงความแข็งแกร่ง จากการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยและความบันเทิง
นอกจากนี้ คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการ BOJ ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ จนกว่าราคาที่ขับเคลื่อนด้วยต้นทุนจะเปลี่ยนไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ โดยรัฐบาลวางแผนที่จะใช้มาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบของค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นต่อครัวเรือน ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับการให้เงินช่วยเหลือและการลดภาษีเงินได้
อีกด้าน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ จากควาดคาดหวังในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า และแรงหนุนจากการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่สามที่แข็งแกร่ง รวมถึงความเป็นไปได้ของอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่อาจสูงขึ้น ส่งผลต่อความน่าดึงดูดของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในตลาด จึงคาดว่าอาจส่งผลให้เงินเยนปรับตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นได้เพียงเล็กน้อย หากยังไม่มีการเข้าแทรงแซงจากทางการญี่ปุ่น โดยคาดว่าจะยังคงเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องในระยะสั้นถึงยาว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 150.39, 150.43, 150.50
แนวรับสำคัญ : 150.25, 150.21 , 150.14
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 150.15 – 150.25 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 150.25 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.39 และ SL ที่ประมาณ 150.10 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 150.39 – 150.49 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.57 และ SL ที่ประมาณ 150.20 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 150.39 – 150.49 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 150.39 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.21 และ SL ที่ประมาณ 150.54 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 150.15 – 150.25 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.04 และ SL ที่ประมาณ 150.44 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Oct 27, 2023 10:12AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 150.04 | 150.14 | 150.21 | 150.32 | 150.39 | 150.50 | 150.57 |
Fibonacci | 150.14 | 150.21 | 150.25 | 150.32 | 150.39 | 150.43 | 150.50 |
Camarilla | 150.24 | 150.25 | 150.27 | 150.32 | 150.30 | 150.32 | 150.33 |
Woodie's | 150.02 | 150.13 | 150.19 | 150.31 | 150.37 | 150.49 | 150.55 |
DeMark's | - | - | 150.18 | 150.30 | 150.36 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2