ฟิวเจอร์สตลาดหุ้นสหรัฐฯ สะท้อนแนวโน้มถูกจำกัด จากความกังวลอัตราผลตอบแทน
ตลาดสัญญาซื้อขายดัชนีหุ้นล่วงหน้าของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในการซื้อขายช่วงเย็นวันอาทิตย์ หลังจากที่ดัชนีหลักปิดตัวสิ้นสุดสัปดาห์ที่ระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือน ขณะที่นักลงทุนเตรียมตัวสำหรับสัปดาห์การรายงานผลประกอบการและข้อมูลเศรษฐกิจ โดยดัชนี S&P 500 และ Nasdaq Composite เริ่มปรับฐาน และลดลงเกินกว่า 10% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมไปถึงดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ที่ร่วงลง ปิดที่ 32,417.59 จุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น ความกังวลทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ต่างๆ ที่สร้างความกังวลให้กับชาวอเมริกัน และอาจส่งผลกระทบต่อกองทุนรวมที่ลงทุนในดัชนีเหล่านี้
ท้งนี้ แม้ว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะตกต่ำ แต่หุ้นของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Amazon, Microsoft และ Apple กลับเพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหุ้นของ Amazon เพิ่มขึ้นมากกว่า 6% เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเชิงบวกเกี่ยวกับรายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 และการคาดการณ์ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อ Microsoft และ Apple ท่ามกลางผลดำเนินงานที่แย่ลงในหุ้นเทคโนโลยีบางตัว อย่าง Meta Platforms Inc, Tesla, Alphabet, Nvidia Corporation และ Netflix ที่ติดลบรายสัปดาห์
ในภาคส่วนอื่นๆ หุ้นบริษัท Ford Motor และ Exxon Mobil Corporation ปรับตัวลดลงเนื่องจากรายงานรายไตรมาสที่ติดลบและการคาดการณ์ประกอบการรายไตรมาส ขณะที่หุ้นของ Chevron Corporation ลดลงเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขรายไตรมาสและการเสนอซื้อราคา 53 พันล้านดอลลาร์ให้กับ Hess Corporation
อย่างไรก็ดี สัปดาห์นี้ตลาดการเงินจับตามองจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐฯ และผลประกอบการจาก Apple ซึ่งอาจกำหนดทิศทางของตลาดหุ้นในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ผลการดำเนินงานของตลาดตราสารหนี้อาจมีบทบาทสำคัญในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐฯ เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและข้อกังวลทางการคลัง ได้ผลักดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 5% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2007 สร้างความท้าทายต่อตลาดหุ้น ขณะที่นักลงทุนมีความกังวลว่า อัตราผลตอบแทนอาจเพิ่มขึ้นอีกหากเฟดแสดงจุดยืนแบบเข้มงวดในการประชุมนโยบายการเงินเดือนพฤศจิกายนนี้ รวมถึงข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตลาดฟิวเจอร์สชี้ถึงความเป็นไปได้อย่างมากที่เฟดอาจจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤศจิกายน และมีความเป็นไปได้เกือบ 80% ที่อัตราดอกเบี้ยจะยังคงทรงตัวในเดือนธันวาคม ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลักจะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันจนถึงปี 2024 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
ทางด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน โดยเติบโตอย่างแข็งแกร่งจากการใช้จ่ายในครัวเรือนจากการซื้อยานยนต์และการเดินทาง โดยยังคงรักษาการเติบโตของการใช้จ่ายไว้ได้จนถึงไตรมาสที่ 4 อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายที่แข็งแกร่งนี้คาดว่าจะลดลงในต้นปี 2024 จากเงินออมของประชาชนที่สะสมในช่วงการแพร่ระบาดหมดลง
ทั้งนี้ จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ มีการคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2024 ท่ามกลางการเติบโตของ GDP ของสหรัฐฯ ที่อยู่ที่ 4.9% ในไตรมาสที่สาม และสัญญาณของตลาดแรงงานที่ร้อนแรง หรือความจำเป็นในการใช้นโยบายแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่อาจนำไปสู่ความผันผวนที่มากขึ้น
นอกจากนี้ ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลาง ได้สร้างความกังวลในหมู่นักลงทุนมากขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ได้ส่งกำลังทหารไปยังภูมิภาค โดยความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น อาจนำไปสู่การใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสงครามและการขาดดุลทางการคลังที่เพิ่มขึ้น ที่อาจผลักดันให้อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังสูงขึ้นไปอีก รวมถึงอาจกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยในพันธบัตร และอาจช่วยบรรเทาแรงหนุนของอัตราผลตอบแทนและลดแรงกดดันต่อตลาดหุ้นและสินทรัพย์อื่น ๆ ได้
ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะเฝ้าจับตาดูตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB, การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ ADP, PMI ภาคการผลิตของ ISM, ตำแหน่งงานว่างจาก JOLT และการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยไฮไลต์สำคัญจะอยู่ที่การเผยแพร่รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนตุลาคมในวันศุกร์ หลังจากพบการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนกันยายน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะพบการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกเล็กน้อย โดยอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 3.8% และการเติบโตของค่าจ้างคาดว่าจะลดลงเหลือ 4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำหลังการแพร่ระบาด ขณะที่ในวันอังคาร นักลงุทนจะวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการจ้างงานในไตรมาสที่สามเพื่อวัดแนวโน้มการเติบโตของค่าจ้างต่อไป
ด้วยเหตุนี้ หากพบปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มากขึ้น อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมคาดว่าจะยังคงถูกกดดันและทรงตัวอยู่ในกรอบแคบๆ ได้ในช่วงนี้ โดยอาจพบแรงหนุนได้ หากรายงานผลประกอบการจากบริษัทใหญ่ๆ ดีกว่าที่คาด และอารมณ์เชิงบวกของนักลงทุนและผู้บริโภคในช่วงใกล้เทศกาล
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD US30 DJIA
แนวต้านสำคัญ : 32511.7, 32518.3, 32529.1
แนวรับสำคัญ : 32490.1, 32483.5, 32472.7
1H Outlook
15Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 32410.1 - 32490.1 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 32490.1 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32513.3 และ SL ที่ประมาณ 32370.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 32511.7 - 32591.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32850.0 และ SL ที่ประมาณ 32450.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 32511.7 - 32591.7 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 32511.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32485.1 และ SL ที่ประมาณ 32630.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 32410.1 - 32490.1 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32150.0 และ SL ที่ประมาณ 32551.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Oct 30, 2023 10:18AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 32456.9 | 32472.7 | 32485.1 | 32500.9 | 32513.3 | 32529.1 | 32541.5 |
Fibonacci | 32472.7 | 32483.5 | 32490.1 | 32500.9 | 32511.7 | 32518.3 | 32529.1 |
Camarilla | 32489.8 | 32492.4 | 32495 | 32500.9 | 32500.2 | 32502.8 | 32505.4 |
Woodie's | 32455.3 | 32471.9 | 32483.5 | 32500.1 | 32511.7 | 32528.3 | 32539.9 |
DeMark's | - | - | 32479 | 32497.8 | 32507.2 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2