ดอลลาร์ออสเตรเลียขยับขึ้นท่ามกลางความคาดหวังว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียล่าสุด แข็งค่าขึ้น 0.54% สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จากข้อมูลล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงราคาที่อยู่อาศัยที่ดีดตัวขึ้น ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ออสเตรเลียใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบเข้มงวดมากขึ้นเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ
IMF พร้อมด้วยนักวิเคราะห์ในตลาดกำลังเรียกร้องให้ RBA ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่หนืดและราคาบ้านที่พุ่งสูงขึ้น โดย IMF คาดการณ์ว่า กว่าอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียจะไปถึงเป้าหมายที่ 3% อาจยืดเยื้อไปจนถึงต้นปี 2569 ซึ่งอยู่นอกเหนือเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปลายปี 2568 แม้ว่าก่อนหน้านี้ RBA จะมีการปรับนโยบายการเงินและกระชับค่าใช้จ่ายการคลัง แต่เจ้าหน้าที่ของ IMF ยังคงแนะนำให้ออสเตรเลียใช้นโยบายที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถกลับสู่ช่วงเป้าหมายได้ภายในปี 2568 และเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์พลิกกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง
ทางด้าน RBA ได้ขึ้นอัตรา 400 จุดพื้นฐานในปีที่ผ่านมา สู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปีที่ 4.1% ก่อนที่จะพักการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวเป็นเวลาสี่เดือน เพื่อรักษาภาคแรงงานที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ความยืดหยุ่นของผู้บริโภค และราคาที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้น กอปรกับอุปทานที่อยู่อาศัยที่น้อยลงได้สร้างความกังวลให้กับออสเตรเลีย โดยราคาที่อยู่อาศัยได้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลต่อความสามารถในการจ่ายและค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักเศรษฐศาสตร์และตลาดส่วนใหญ่จึงคาดว่า RBA อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ซึ่งการคาดการณ์สำหรับอัตราเงินเฟ้อในการที่จะกลับไปสู่ระดับเป้าหมาย 2-3% ได้ในปลายปี 2568 ในปัจจุบันของ RBA ยังคงตามหลังประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ อยู่
นอกจากนี้ อับดุล วาน หัวหน้าคณะดำเนินงานของ IMF ออกเตือนถึงความจำเป็นที่ออสเตรเลียต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก หากรัฐบาลไม่เลื่อนโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ออกไป ซึ่ง IMF เชื่อว่าเศรษฐกิจของออสเตรเลียยังคงเดินหน้า 'เกินกำลัง' ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่คงที่ การว่างงานต่ำ และราคาบ้านที่สูงขึ้น นอกจากนี้ IMF ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประสานนโยบายการเงินและการคลังเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ และเสนอแนะโครงการลงทุนภาครัฐในระดับปานกลาง
ทางด้าน Michele Bullock ผู้ว่าการ RBA คนใหม่ได้บอกเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 13 หากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูง ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราขึ้นไปอยู่ที่ 4.35% ขณะที่ตลาดเงินคาดการณ์โอกาส 70% ที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.35% ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
ในขณะเดียวกัน การเกินดุลการค้าของออสเตรเลียลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองปีในเดือนกันยายน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกโลหะที่ลดลงและการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าสันทนาการ บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคและธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูงและสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยการส่งออกลดลง 1.4% จากเดือนก่อน จากการลดลงของโลหะและทองคำที่เป็นสินค้า ขณะที่อุปสงค์ในจีน ซึ่งเป็นปลายทางการส่งออกที่สำคัญของออสเตรเลีย ยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้ยอดการส่งออกโดยรวมลดลง พร้อมกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัว
ทางด้านยอดค้าปลีกของออสเตรเลียในเดือนกันยายนขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในการใช้จ่ายของผู้บริโภค และเสริมความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจออสเตรเลียบ่งบอกว่าการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอาจสร้างแรงกดดันต่อยอดค้าปลีก และอาจทำให้ตลาดงานเย็นตัวลง
ในทางตรงกันข้าม ธนาคารกลางสหรัฐฯ ล่าสุดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม โดยแม้ FOMC จะตระหนักถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3 แต่ก็สังเกตเห็นถึงการจ้างงานที่เติบโตในระดับปานกลาง ท่ามกลางการยืนยันถึงความยืดหยุ่นของระบบธนาคารของสหรัฐฯ และเตือนเกี่ยวกับผลกระทบของสภาวะทางการเงินที่ตึงตัวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน รวมถึงระบุว่าอัตราเงินเฟ้อ 3.7% ในเดือนกันยายนยังคงอยู่ในระดับที่สูง
ทางด้านจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการการว่างงานใหม่เพิ่มขึ้นปานกลาง แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นการปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างหรือไม่ โดยนักเศรษฐศาสตร์บางคนมองว่าเป็นผลมาจากความลำบากที่เพิ่มขึ้น ในการปรับข้อมูลการจ้างงานในช่วงที่มีความผันผวนตามฤดูกาล ในขณะที่บางคนมองว่าเป็นสัญญาณของการว่างงานที่ยืดเยื้อในกลุ่มแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง
ในขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าที่ผลิตในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน โดยได้แรงหนุนจากความต้องการคอมพิวเตอร์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางความท้าทายจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นในภาคการผลิตและอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ความเป็นไปได้ที่จะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเฟด ได้เพิ่มอารมณ์ Risk-on ให้กับตลาด และนำไปสู่การลงทุนในตราสารทุนและสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้นในช่วงนี้ จึงอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งแม้จะยังมีแนวโน้มถูกกดดันจากความแตกต่างของผลตอบแทนของทั้งสองประเทศที่ต่างกันมาก แต่ก็มีโอกาสที่เงินดอลลาร์ออสเตรเลียจะสามารถปรับตัวและขยับขึ้นมาอยู่ในกรอบบนได้เล็กน้อย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6437, 0.6439, 0.6443
แนวรับสำคัญ : 0.6429, 0.6427, 0.6423
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6419 - 0.6429 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6429 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6438 และ SL ที่ประมาณ 0.6414 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6437 - 0.6447 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6447 และ SL ที่ประมาณ 0.6424 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6437 - 0.6447 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6437 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6427 และ SL ที่ประมาณ 0.6452 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6419 - 0.6429 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6414 และ SL ที่ประมาณ 0.6442 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 03, 2023 10:22AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6417 | 0.6423 | 0.6427 | 0.6433 | 0.6438 | 0.6443 | 0.6448 |
Fibonacci | 0.6423 | 0.6427 | 0.6429 | 0.6433 | 0.6437 | 0.6439 | 0.6443 |
Camarilla | 0.6430 | 0.6431 | 0.6432 | 0.6433 | 0.6433 | 0.6434 | 0.6435 |
Woodie's | 0.6417 | 0.6423 | 0.6427 | 0.6433 | 0.6438 | 0.6443 | 0.6448 |
DeMark's | - | - | 0.6431 | 0.6435 | 0.6441 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2